วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สมาชิก

 สมาชิก

เลขที่ 1-8     โรคไข้หวัด
เลขที่ 9-16    โรคความดัน
เลขที่ 17-24   โรคเบาหวาน
เลขที่ 25-32   โรคมะเร็ง
เลขที่ 33-40    โรคเอดส์
เลขที่ 41-48   โรคหัวใจ

วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โรคมะเร็ง

มะเร็ง
            
            มะเร็งหรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย เป็นกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด ไม่ใช่ว่าเนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็งเพราะเนื้องอกไม่ร้ายไม่ลุกลามอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจาย
ไปทั่วร่างกาย มีมะเร็งที่ส่งผลต่อมนุษย์ที่ทราบแล้วกว่า 200 ชนิด

สาเหตุของมะเร็งนั้นมีหลากหลาย ซับซ้อนและเข้าใจเพียงบางส่วนเท่านั้น มีหลายปัจจัยที่ทราบแล้วว่าเพิ่มปัจจัยเสี่ยงมะเร็ง ได้แก่ การสูบบุหรี่ ปัจจัยด้านอาหาร การติดเชื้อบางอย่าง การสัมผัสรังสี การขาดกิจกรรมทางกาย โรคอ้วนและมลภาวะสิ่งแวดล้อม[2] ปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้ยีนเสียหายโดยตรงหรืออาจประกอบกับความบกพร่องทางพันธุกรรมที่มีอยู่เดิมในเซลล์ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้มะเร็งราว 5–10% สามารถติดตามไปยังความบกพร่องทางพันธุกรรมแต่กำเนิดโดยตรงมะเร็งหลายชนิดสามารถป้องกันได้โดยการไม่สูบบุหรี่ ทานผัก ผลไม้และธัญพืชเต็มเมล็ด (wholegrain)มากขึ้น ทานเนื้อและคาร์โบไฮเดรตขัดสี (refined)น้อยลง ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย จำกัดการรับแสงอาทิตย์ และรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อบางชนิด

มะเร็งสามารถตรวจพบได้หลายวิธี รวมทั้งการมีอาการและอาการแสดงบางอย่าง การตรวจคัดกรองโรค หรือการสร้างภาพทางการแพทย์ เมื่อตรวจพบว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งแล้ว จะมีการวินิจฉัยโดยการตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยปกติ มะเร็งรักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีบำบัดและการผ่าตัด โอกาสการรอดชีวิตของโรคมีหลากหลายมากขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งของมะเร็งและ ขอบเขตของโรคเมื่อเริ่มต้นการรักษา มะเร็งสามารถเกิดในบุคคลทุกช่วงอายุ แต่ความเสี่ยงการกลายเป็นมะเร็งนั้นโดยปกติจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ยกเว้นมะเร็งน้อยชนิดที่พบมากกว่าในเด็ก ในปี 2550 มะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของมนุษย์ 13% ทั่วโลก (7.9 ล้านคน) อัตรานี้เพิ่มสูงขึ้นเพราะมีผู้รอดชีวิตถึงวัยชรามากขึ้นและมีการ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตครั้งใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนา

มะเร็งชนิดต่างๆ
มะเร็ง ปากมดลูก มะเร็ง ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่
มะเร็ง ตับ มะเร็ง มดลูก
มะเร็ง ปอด มะเร็ง กระดูก
มะเร็ง ช่องปาก มะเร็ง ผิวหนัง
มะเร็ง โพรงหลังจมูก มะเร็ง ต่อมลูกหมาก
มะเร็ง กล่องเสียง มะเร็ง เม็ดเลือดขาว
มะ เร็งต่อมธัยรอยด์ มะเร็ง ต่อมน้ำเหลือง
มะเร็ง ถุงน้ำดี และท่อน้ำดี มะเร็ง และเนื้องอกในระบบประสาท
มะเร็งตับอ่อน มะเร็งระบบทางเดินอาหาร ปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธุ์ชาย



1.มะเร็ง ปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในสตรีไทยรองลงมาจากมะเร็งเต้านม พบได้ตั้งแต่วัยสาวอายุก่อน 30 ปี จนถึงวัยชรา
อายุ 80 ปี พบมากในช่วง 35-50 ปี ในปีหนึ่งๆ พบว่ามีสตรีป่วยเป็นโรคนี้ทั่วโลก ทั้งๆ ที่เป็นมะเร็งที่ตรวจพบง่าย และสามารถป้องกันได้ คุณเสี่ยงกับมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย ต่ำกว่า 18 ปี เปลี่ยนคู่นอนบ่อย สามีหรือคู่นอนสำส่อนทางเพศ 



สตรีที่เคยเป็นโรคติดเชื้อจากการร่วมเพศ เช่น กามโรค สตรีที่เคยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่บริเวณอวัยวะเพศ เช่น เริม หงอนไก่ ผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ หรือบกพร่อง เช่น ผู้ที่รับยาหลังการเปลี่ยนอวัยวะหรือผู้ติดเชื้อเอดส์ สตรีที่ติดบุหรี่ หรือผู้ใกล้ชิดเป็นผู้ติดบุหรี่ เมื่อพบภาวะผิดปกติดังต่อไปนี้ ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ มะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก จะมีอาการ ดังนั้นการป้องกันจึงจำเป็นต้องรับการตรวจตั้งแต่ไม่มีอาการ มีตกขาวออกมาผิดปกติ อาจมีเลือดปนและมักมีกลิ่นเหม็น มีประจำเดือนไม่ปกติ กะปริบกะปรอย หรือบางครั้งออกมาก 



มีเลือดออกขณะ หรือหลังร่วมเพศ มีเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน อ่อนเพลีย ซีด เบื่ออาการ น้ำหนักลด มีการบวม ปัสสาวะไม่ออก หรือไหลไม่หยุด ปวดท้องน้อย หรือมีอาการผิดปกติของอวัยวะอื่นเมื่อโรคลุกลามไปถึง ผลข้างเคียง ทำการตรวจหามะเร็งปากมดลูกปีละครั้ง หรือเมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น ตกขาว หรือมีเลือดออกผิดปกติ สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจภายใน เพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก สตรีที่รับการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือสตรีที่อยู่ในภาวะเสี่ยงควรได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก 6 เดือน ไม่ควรสูบบุหรี่ หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้สูบบุหรี่ ละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย หรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV Vaccine) เพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก ซึ่งจะมีประสิทธิภาพสูงสุด หากยังไม่เคยได้รับเชื้อนี้มาก่อน สามารถป้องกันได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป


2. มะเร็งเต้านม
โรคมะเร็งเต้านมเกิดจากเนื้อเยื่อของเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งอาจจะกิดเป็นมะเร็งเต้านมที่เกิดกับท่อน้ำนม หรือมะเร็งเต้านมที่เกิดกับต่อมน้ำนม มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยดังนั้นท่านผู้อ่านที่เป็นหญิงหรือชายควรจะตรวจเต้านม
ตัวเอง
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิง จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 37 ของมะเร็งทั้งหมด และยังมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปอด ดังนั้นการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง และการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในขณะที่ก้อนมีขนาดเล็ก และก้อนมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่เต้านม ยังไม่แพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ จะมีโอกาสหายขาดมากขึ้น เมื่อเทียบกับการตรวจพบก้อน มะเร็งที่มีขนาดใหญ่ หรือกระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว โดยหากมีการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีถึงร้อยละ 98 ถ้าตรวจเจอ ตอนก้อนมะเร็งกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีร้อยละ 84 และถ้าตรวจเจอ ตอนมะเร็งแพร่กระจายไปแล้ว โอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปี มีเพียงร้อยละ 23 และยังไม่แพร่กระจายจะทำให้มีโอกาศรอดชีวิตสูง ก้อนขนาดเล็กก่อนที่จะรู้เรื่องมะเร็งท่านต้องทราบ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งขึ้นกับ
* อายุ
* พันธุกรรม ประวัติการเกิดมะเร็งในครอบครัว และการเกิดมะเร็งเต้านมของตัวเอง
* ปัจจัยของฮอร์โมน เช่นอายุเริ่มต้นของการมีประจำเดือน อายุที่หมดประจำเดือน การมีบุตร การให้นมบุตร ประวัติการใช้ยาฮอร์โมนทดแทนในวัยทอง
* นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงในแงพฤติกรรมเช่น
ความอ้วน การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การเคยได้รับการฉายรังสี
การตรวจคัดกรองมะเร็งในระยะแรกเริ่ม



วิธีการตรวจหามะเร็งเต้านมมีอะไรบ้าง 
การตรวจหามะเร็งเต้านมมีหลายวิธีได้แก่
1. การตรวจเต้านมด้วย แมมโมแกรม ซึ่งจัดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านมในผู้หญิงทั่วไป
2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือพยาบาล
3. การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
4.มะเร็งผิวหนัง

สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ ชัด แต่พบว่าการระคายเคืองต่อผิวหนังเป็นระยะเวลานานๆ เป็นสาเหตุ ให้เกิด
มะเร็งผิวหนังได้ เช่น
1. แสงแดดและแสงอุลตราไวโอเลต พบว่า ผิวหนังส่วนที่ถูกแสงแดด เป็นระยะเวลา นานๆ จะมี
โอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าส่วนอื่น
2. ยาที่มีส่วนประกอบของสารหนู ทั้งยาจีน ยาไทย เมื่อรับประทานนาน ๆ จะทำให้ เป็นโรค
ผิวหนังและกลายเป็นมะเร็งในที่สุด
3. หูด ไฝ ปาน หรือแผลเรื้อรังที่มีการระคายเคืองเป็น เวลานานๆ อาจกลายเป็นมะเร็ง ได้


อาการ
ส่วนใหญ่เริ่ม จากมีการเปลี่ยนแปลงของไฝ ปาน หรือเริ่มต้นเป็นแผลเล็ก ๆ แล้วค่อย ๆ ขยาย
ใหญ่ขึ้น ขรุขระ อาจมีสีดำที่ขอบ ๆ และเมื่อเป็นมาก จะเป็นก้อนคล้ายดอก กระหล่ำปลี มะเร็ง
ผิวหนังส่วนใหญ่มักพบที่บริเวณใบหน้า แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว
การตรวจวินิจฉัย
ทำได้โดยการ ตรวจร่างกาย และตัดชิ้นเนื้อไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์


การรักษา
ขึ้นอยู่กับ ชนิด ขนาด และตำแหน่งของมะเร็ง แพทย์อาจใช้วิธีการผ่าตัดเอาส่วนที่เป็น มะเร็ง
ออก ซึ่งบางครั้งต้องตัดต่อมน้ำเหลืองที่เป็นทางกระจายของมะเร็งออกด้วย การ ใช้ยาเคมีและ
รังสีรักษาเสริมการผ่าตัด จะทำให้มีโอกาสหายขาดมากขึ้น
การป้องกัน
1.ไม่ควรให้ผิวหนังถูกแสง แดดจนไหม้เกรียม
2.ระมัดระวังการใช้ยาที่ เข้าสารหนู
3.สังเกตความเปลี่ยนแปลง ของหูด ไฝ ปาน
4. แผลเรื้อรังที่ผิวหนัง รักษาแล้วไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์



อ้างอิง 
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87
http://www.nci.go.th/th/Knowledge/skin.html
http://www.nci.go.th/th/Knowledge/nom_1.html
http://pathumcancer.thaiddns.com/mcc/images/CA/cervic.pdf
http://www.nci.go.th/th/Knowledge/pakmodluk.html
http://www.phuketbulletin.co.th/Lifestyle/view.php?id=122
http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/cancer/breast/breastcancer.htm#.U9JcUKi7isU
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87&client=firefox-a&hs=cFN&rls=org.mozilla:en-US:official&channel=fflb&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ei=ZWTSU4CDNoG7uATd-4GIAw&ved=0CAgQ_AUoAQ&biw=2560&bih=1275#facrc=_&imgdii=_&imgrc=3XLAe3ekK_ZAWM%253A%3BfgUeGLnuJsD-MM%3Bhttp%253A%252F%252Fwww.thairath.co.th%252Fmedia%252FEyWwB5WU57MYnKOvYTr8XNmBFtaX08mHDIkA7lj9Zut6hqKN97jlEQ.jpg%3Bhttp%253A%252F%252Fwww.thairath.co.th%252Fcontent%252F252408%3B770%3B430

สมาชิก ม.3/4
เลขที่ 22,23,24,25,26,27,28