วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สมาชิก

 สมาชิก

เลขที่ 1-8     โรคไข้หวัด
เลขที่ 9-16    โรคความดัน
เลขที่ 17-24   โรคเบาหวาน
เลขที่ 25-32   โรคมะเร็ง
เลขที่ 33-40    โรคเอดส์
เลขที่ 41-48   โรคหัวใจ

วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โรคมะเร็ง

มะเร็ง
            
            มะเร็งหรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย เป็นกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด ไม่ใช่ว่าเนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็งเพราะเนื้องอกไม่ร้ายไม่ลุกลามอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจาย
ไปทั่วร่างกาย มีมะเร็งที่ส่งผลต่อมนุษย์ที่ทราบแล้วกว่า 200 ชนิด

สาเหตุของมะเร็งนั้นมีหลากหลาย ซับซ้อนและเข้าใจเพียงบางส่วนเท่านั้น มีหลายปัจจัยที่ทราบแล้วว่าเพิ่มปัจจัยเสี่ยงมะเร็ง ได้แก่ การสูบบุหรี่ ปัจจัยด้านอาหาร การติดเชื้อบางอย่าง การสัมผัสรังสี การขาดกิจกรรมทางกาย โรคอ้วนและมลภาวะสิ่งแวดล้อม[2] ปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้ยีนเสียหายโดยตรงหรืออาจประกอบกับความบกพร่องทางพันธุกรรมที่มีอยู่เดิมในเซลล์ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้มะเร็งราว 5–10% สามารถติดตามไปยังความบกพร่องทางพันธุกรรมแต่กำเนิดโดยตรงมะเร็งหลายชนิดสามารถป้องกันได้โดยการไม่สูบบุหรี่ ทานผัก ผลไม้และธัญพืชเต็มเมล็ด (wholegrain)มากขึ้น ทานเนื้อและคาร์โบไฮเดรตขัดสี (refined)น้อยลง ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย จำกัดการรับแสงอาทิตย์ และรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อบางชนิด

มะเร็งสามารถตรวจพบได้หลายวิธี รวมทั้งการมีอาการและอาการแสดงบางอย่าง การตรวจคัดกรองโรค หรือการสร้างภาพทางการแพทย์ เมื่อตรวจพบว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งแล้ว จะมีการวินิจฉัยโดยการตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยปกติ มะเร็งรักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีบำบัดและการผ่าตัด โอกาสการรอดชีวิตของโรคมีหลากหลายมากขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งของมะเร็งและ ขอบเขตของโรคเมื่อเริ่มต้นการรักษา มะเร็งสามารถเกิดในบุคคลทุกช่วงอายุ แต่ความเสี่ยงการกลายเป็นมะเร็งนั้นโดยปกติจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ยกเว้นมะเร็งน้อยชนิดที่พบมากกว่าในเด็ก ในปี 2550 มะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของมนุษย์ 13% ทั่วโลก (7.9 ล้านคน) อัตรานี้เพิ่มสูงขึ้นเพราะมีผู้รอดชีวิตถึงวัยชรามากขึ้นและมีการ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตครั้งใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนา

มะเร็งชนิดต่างๆ
มะเร็ง ปากมดลูก มะเร็ง ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่
มะเร็ง ตับ มะเร็ง มดลูก
มะเร็ง ปอด มะเร็ง กระดูก
มะเร็ง ช่องปาก มะเร็ง ผิวหนัง
มะเร็ง โพรงหลังจมูก มะเร็ง ต่อมลูกหมาก
มะเร็ง กล่องเสียง มะเร็ง เม็ดเลือดขาว
มะ เร็งต่อมธัยรอยด์ มะเร็ง ต่อมน้ำเหลือง
มะเร็ง ถุงน้ำดี และท่อน้ำดี มะเร็ง และเนื้องอกในระบบประสาท
มะเร็งตับอ่อน มะเร็งระบบทางเดินอาหาร ปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธุ์ชาย



1.มะเร็ง ปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในสตรีไทยรองลงมาจากมะเร็งเต้านม พบได้ตั้งแต่วัยสาวอายุก่อน 30 ปี จนถึงวัยชรา
อายุ 80 ปี พบมากในช่วง 35-50 ปี ในปีหนึ่งๆ พบว่ามีสตรีป่วยเป็นโรคนี้ทั่วโลก ทั้งๆ ที่เป็นมะเร็งที่ตรวจพบง่าย และสามารถป้องกันได้ คุณเสี่ยงกับมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย ต่ำกว่า 18 ปี เปลี่ยนคู่นอนบ่อย สามีหรือคู่นอนสำส่อนทางเพศ 



สตรีที่เคยเป็นโรคติดเชื้อจากการร่วมเพศ เช่น กามโรค สตรีที่เคยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่บริเวณอวัยวะเพศ เช่น เริม หงอนไก่ ผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ หรือบกพร่อง เช่น ผู้ที่รับยาหลังการเปลี่ยนอวัยวะหรือผู้ติดเชื้อเอดส์ สตรีที่ติดบุหรี่ หรือผู้ใกล้ชิดเป็นผู้ติดบุหรี่ เมื่อพบภาวะผิดปกติดังต่อไปนี้ ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ มะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก จะมีอาการ ดังนั้นการป้องกันจึงจำเป็นต้องรับการตรวจตั้งแต่ไม่มีอาการ มีตกขาวออกมาผิดปกติ อาจมีเลือดปนและมักมีกลิ่นเหม็น มีประจำเดือนไม่ปกติ กะปริบกะปรอย หรือบางครั้งออกมาก 



มีเลือดออกขณะ หรือหลังร่วมเพศ มีเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน อ่อนเพลีย ซีด เบื่ออาการ น้ำหนักลด มีการบวม ปัสสาวะไม่ออก หรือไหลไม่หยุด ปวดท้องน้อย หรือมีอาการผิดปกติของอวัยวะอื่นเมื่อโรคลุกลามไปถึง ผลข้างเคียง ทำการตรวจหามะเร็งปากมดลูกปีละครั้ง หรือเมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น ตกขาว หรือมีเลือดออกผิดปกติ สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจภายใน เพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก สตรีที่รับการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือสตรีที่อยู่ในภาวะเสี่ยงควรได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก 6 เดือน ไม่ควรสูบบุหรี่ หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้สูบบุหรี่ ละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย หรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV Vaccine) เพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก ซึ่งจะมีประสิทธิภาพสูงสุด หากยังไม่เคยได้รับเชื้อนี้มาก่อน สามารถป้องกันได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป


2. มะเร็งเต้านม
โรคมะเร็งเต้านมเกิดจากเนื้อเยื่อของเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งอาจจะกิดเป็นมะเร็งเต้านมที่เกิดกับท่อน้ำนม หรือมะเร็งเต้านมที่เกิดกับต่อมน้ำนม มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยดังนั้นท่านผู้อ่านที่เป็นหญิงหรือชายควรจะตรวจเต้านม
ตัวเอง
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิง จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 37 ของมะเร็งทั้งหมด และยังมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปอด ดังนั้นการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง และการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในขณะที่ก้อนมีขนาดเล็ก และก้อนมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่เต้านม ยังไม่แพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ จะมีโอกาสหายขาดมากขึ้น เมื่อเทียบกับการตรวจพบก้อน มะเร็งที่มีขนาดใหญ่ หรือกระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว โดยหากมีการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีถึงร้อยละ 98 ถ้าตรวจเจอ ตอนก้อนมะเร็งกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีร้อยละ 84 และถ้าตรวจเจอ ตอนมะเร็งแพร่กระจายไปแล้ว โอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปี มีเพียงร้อยละ 23 และยังไม่แพร่กระจายจะทำให้มีโอกาศรอดชีวิตสูง ก้อนขนาดเล็กก่อนที่จะรู้เรื่องมะเร็งท่านต้องทราบ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งขึ้นกับ
* อายุ
* พันธุกรรม ประวัติการเกิดมะเร็งในครอบครัว และการเกิดมะเร็งเต้านมของตัวเอง
* ปัจจัยของฮอร์โมน เช่นอายุเริ่มต้นของการมีประจำเดือน อายุที่หมดประจำเดือน การมีบุตร การให้นมบุตร ประวัติการใช้ยาฮอร์โมนทดแทนในวัยทอง
* นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงในแงพฤติกรรมเช่น
ความอ้วน การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การเคยได้รับการฉายรังสี
การตรวจคัดกรองมะเร็งในระยะแรกเริ่ม



วิธีการตรวจหามะเร็งเต้านมมีอะไรบ้าง 
การตรวจหามะเร็งเต้านมมีหลายวิธีได้แก่
1. การตรวจเต้านมด้วย แมมโมแกรม ซึ่งจัดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านมในผู้หญิงทั่วไป
2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือพยาบาล
3. การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
4.มะเร็งผิวหนัง

สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ ชัด แต่พบว่าการระคายเคืองต่อผิวหนังเป็นระยะเวลานานๆ เป็นสาเหตุ ให้เกิด
มะเร็งผิวหนังได้ เช่น
1. แสงแดดและแสงอุลตราไวโอเลต พบว่า ผิวหนังส่วนที่ถูกแสงแดด เป็นระยะเวลา นานๆ จะมี
โอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าส่วนอื่น
2. ยาที่มีส่วนประกอบของสารหนู ทั้งยาจีน ยาไทย เมื่อรับประทานนาน ๆ จะทำให้ เป็นโรค
ผิวหนังและกลายเป็นมะเร็งในที่สุด
3. หูด ไฝ ปาน หรือแผลเรื้อรังที่มีการระคายเคืองเป็น เวลานานๆ อาจกลายเป็นมะเร็ง ได้


อาการ
ส่วนใหญ่เริ่ม จากมีการเปลี่ยนแปลงของไฝ ปาน หรือเริ่มต้นเป็นแผลเล็ก ๆ แล้วค่อย ๆ ขยาย
ใหญ่ขึ้น ขรุขระ อาจมีสีดำที่ขอบ ๆ และเมื่อเป็นมาก จะเป็นก้อนคล้ายดอก กระหล่ำปลี มะเร็ง
ผิวหนังส่วนใหญ่มักพบที่บริเวณใบหน้า แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว
การตรวจวินิจฉัย
ทำได้โดยการ ตรวจร่างกาย และตัดชิ้นเนื้อไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์


การรักษา
ขึ้นอยู่กับ ชนิด ขนาด และตำแหน่งของมะเร็ง แพทย์อาจใช้วิธีการผ่าตัดเอาส่วนที่เป็น มะเร็ง
ออก ซึ่งบางครั้งต้องตัดต่อมน้ำเหลืองที่เป็นทางกระจายของมะเร็งออกด้วย การ ใช้ยาเคมีและ
รังสีรักษาเสริมการผ่าตัด จะทำให้มีโอกาสหายขาดมากขึ้น
การป้องกัน
1.ไม่ควรให้ผิวหนังถูกแสง แดดจนไหม้เกรียม
2.ระมัดระวังการใช้ยาที่ เข้าสารหนู
3.สังเกตความเปลี่ยนแปลง ของหูด ไฝ ปาน
4. แผลเรื้อรังที่ผิวหนัง รักษาแล้วไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์



อ้างอิง 
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87
http://www.nci.go.th/th/Knowledge/skin.html
http://www.nci.go.th/th/Knowledge/nom_1.html
http://pathumcancer.thaiddns.com/mcc/images/CA/cervic.pdf
http://www.nci.go.th/th/Knowledge/pakmodluk.html
http://www.phuketbulletin.co.th/Lifestyle/view.php?id=122
http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/cancer/breast/breastcancer.htm#.U9JcUKi7isU
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87&client=firefox-a&hs=cFN&rls=org.mozilla:en-US:official&channel=fflb&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ei=ZWTSU4CDNoG7uATd-4GIAw&ved=0CAgQ_AUoAQ&biw=2560&bih=1275#facrc=_&imgdii=_&imgrc=3XLAe3ekK_ZAWM%253A%3BfgUeGLnuJsD-MM%3Bhttp%253A%252F%252Fwww.thairath.co.th%252Fmedia%252FEyWwB5WU57MYnKOvYTr8XNmBFtaX08mHDIkA7lj9Zut6hqKN97jlEQ.jpg%3Bhttp%253A%252F%252Fwww.thairath.co.th%252Fcontent%252F252408%3B770%3B430

สมาชิก ม.3/4
เลขที่ 22,23,24,25,26,27,28

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรคเอดส์

                                                     โรคเอดส์

เอดส์ หรือ AIDS (Acquired Immune Deficiency Syndrome) เป็นกลุ่มอาการของโรค ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอดส์ ซึ่งจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือกขาว ซึ่งเป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ติดเชื้อโรคอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ อาการจะรุนแรง และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต
โรคเอดส์ (AIDS) คืออะไร
โรคเอดส์ หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Acquired Immune Deficiency Syndrome - AIDS) เป็นกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเพราะร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ที่เป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดน้อยลง จึงทำให้ติดเชื้อโรคฉวยโอกาสแทรกซ้อนเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรคในปอด หรือต่อมน้ำเหลือง เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา โรคผิวหนังบางชนิด หรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตมักเกิดขึ้นจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ เหล่านี้ ทำให้อาการจะรุนแรง และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
เอดส์ติดต่อกันได้อย่างไร
1. การร่วมเพศ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ไม่ว่าชายกับชาย ชายกับหญิง หรือหญิงกับหญิง ทั้งช่องทางธรรมชาติ หรือไม่ธรรมชาติ ก็ล้วนมีโอกาสติดโรคนี้ได้ทั้งสิ้น และปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น ได้แก่ การมีแผลเปิด และจากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา ประมาณร้อยละ 84 ของผู้ป่วยเอดส์ ได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
2. การรับเชื้อทางเลือด
- ใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ มักพบในกลุ่มผู้ฉีดยาเสพติด และหากคนกลุ่มนี้ติดเชื้อ ก็สามารถถ่ายทอดเชื้อเอดส์ ทางเพศสัมพันธ์ได้อีกทางหนึ่ง
- รับเลือดในขณะผ่าตัด หรือเพื่อรักษาโรคเลือดบางชนิด ในปัจจุบันเลือดที่ได้รับบริจาคทุกขวด ต้องผ่านการตรวจหาการติดเชื้อเอดส์ และจะปลอดภัยเกือบ 100%
3. ทารก ติดเชื้อจากแม่ที่ติดเชื้อเอดส์ การแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก ผู้หญิงที่ติดเชื้อเอดส์ หากตั้งครรภ์ และไม่ได้รับการดูแลอย่างดี เชื้อเอช ไอ วี จะแพร่ไปยังลูกได้ ในอัตราร้อยละ 30 จากกรณีเกิดจากแม่ติดเชื้อ จึงมีโอกาสที่จะรับเชื้อเอช ไอ วี จากแม่ได้
เอดส์ มีอาการอย่างไร

คนที่สัมผัสกับโรคเอดส์หรือคนที่ได้รับเชื้อเอดส์เข้าไปในร่างกายม่จำเป็นต้องมีการติดเชื้อเอดส์เสมอไปขึ้นกับจำนวนครั้งที่สัมผัสจำนวนและความดุร้ายของไวรัสเอดส์ที่เข้าสู่ร่างกายและภาวะภูมิต้านทานของร่างกายถ้ามีการติดเชื้ออาการที่เกิดขึ้นมีได้หลายรูปแบบหรือหลายระยะตามการดำเนินของโรค
ระยะที่ 1 : ระยะที่ไม่มีอาการอะไร
ภายใน2-3 อาทิตย์แรกหลังจากได้รับเชื้อเอดส์เข้าไป ราวร้อยละ 10 ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายๆ ไข้หวัด คือมีไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต ผื่นตามตัว แขน ขาชาหรืออ่อนแรง เป็นอยู่ราว 10-14 วันก็จะหายไปเอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจไม่สังเกต นึกว่าคงเป็นไข้หวัดธรรมดาราว 6-8 สัปดาห์ภายหลังติดเชื้อ ถ้าตรวจเลือดจะเริ่มพบว่ามีเลือดเอดส์บวกได้ และส่วนใหญ่จะตรวจพบว่ามีเลือดเอดส์บวกภายหลัง 3 เดือนไปแล้ว โดยที่ผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการอะไรเลยเพียงแต่ถ้าไปตรวจก็จะพบว่ามีภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสเอดส์อยู่ในเลือดหรือที่เรียกว่าเลือดเอดส์บวกซึ่งแสดงว่ามีการติดเชื้อเอดส์เข้าไปแล้วร่างกายจึงตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนบางอย่างขึ้นมาทำปฏิกิริยากับไวรัสเอดส์เรียกว่าแอนติบอดีย์(antibody)เป็นเครื่องแสดงว่าเคยมีเชื้อเอดส์เข้าสู่ร่างกายมาแล้วแต่ก็ไม่สามารถจะเอาชนะไวรัสเอดส์ได้คนที่มีเลือดเอดส์บวกจะมีไวรัสเอดส์อยู่ในตัวและสามารถแพร่โรคให้กับคนอื่นได้ น้อยกว่าร้อยละ 5 ของคนที่ติดเชื้ออาจต้องรอถึง 6 เดือนกว่าจะมีเลือดเอดส์บวกได ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงมา เช่น แอบไปมีสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา โดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัยป้องกัน ตรวจตอน 3 เดือน แล้วไม่พบก็ต้องไปตรวจซ้ำอีกตอน6เดือนโดยในระหว่างนั้นก็ต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเวลามีเพศสัมพันธ์กับภรรยาและห้ามบริจาคโลหิตให้ใครในระหว่างนั้นผู้ติดเชื้อบางรายอาจมีต่อมน้ำเหลืองตามตัวโตได้โดยโตอยู่เป็นระยะเวลานานๆ คือเป็นเดือนๆ ขึ้นไป ซึ่งบางรายอาจคลำพบเอง หรือไปหาแพทย์แล้วแพทย์คลำพบ ต่อมน้ำเหลืองที่โตนี้มีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ แข็งๆ ขนาด1-2 เซนติเมตร อยู่ใต้ผิวหนังบริเวณด้านข้างคอทั้ง 2 ข้าง(รูปที่ 2) ข้างละหลายเม็ดในแนวเดียวกัน คลำดูแล้วคลายลูกประคำที่คอไม่เจ็บ ไม่แดง นอกจากที่คอต่อมน้ำเหลืองที่โตยังอาจพบได้ที่รักแร้และขาหนีบทั้ง 2 ข้าง แต่ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบมีความสำคัญน้อยกว่าที่อื่นเพราะพบได้บ่อยในคนปกติทั่วไป ต่อมน้ำเหลืองเหล่านี้จะเป็นที่พักพิงในช่วงแรกของไวรัสเอดส์ โดยไวรัสเอดส์จะแบ่งตัวอย่างมากในต่อมน้ำเหลืองที่โตเหล่านี้
ระยะที่ 2 : ระยะที่เริ่มมีอาการหรือระยะที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์
เป็นระยะที่คนไข้เริ่มมีอาการ แต่อาการนั้นยังไม่มากถึงกับจะเรียกว่าเป็นโรคเอดส์เต็มขั้น อาการในช่วงนี้อาจเป็นไข้เรื้อรัง น้ำ หนักลด หรือท้องเสียงเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนี้อาจมีเชื้อราในช่องปาก(รูปที่ 3), งูสวัด(รูปที่ 4), เริมในช่องปาก หรืออวัยวะ เพศ ผื่นคันตามแขนขา และลำตัวคล้ายคนแพ้น้ำลายยุง(รูปที่ 5) จะเห็นได้ว่า อาการที่เรียกว่าสัมพันธ์กับเอดส์นั้น ไม่จำเพาะสำหรับโรคเอดส์เสมอไป คนที่เป็นโรคอื่นๆ ก็อาจมีไข้ น้ำหนักลด ท้องเสีย เชื้อราในช่องปาก งูสวัด หรือเริมได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าถ้ามีอาการเหล่านี้จะต้องเหมาว่าติดเชื้อเอดส์ไปทุกร้าย ถ้าสงสัยควรปรึกษา แพทย์และตรวจเลือดเอดส์พิสูจน์
ระยะที่ 3 : ระยะโรคเอดส์เต็มขั้น หรือที่ภาษาทางการเรียกว่าโรคเอดส์
เป็นระยะที่ภูมิต้านทานของร่ายกายเสียไปมากแล้วผู้ป่วยจะมีอาการของการติดเชื้อจำพวกเชื้อฉกฉวยโอกาสบ่อยๆและเป็นมะเร็งบางชนิดเช่นแคโปซี่ซาร์โคมา(Kaposi'ssarcoma)และมะเร็งปากมดลูก การติดเชื้อฉกฉวยโอกาสหมายถึงการติดเชื้อที่ปกติมีความรุนแรงต่ำไม่ก่อโรคในคนปกติแต่ถ้าคนนั้นมีภูมิต้านทานต่ำลงเช่นจากการเป็นมะเร็งหรือจากการได้รับยาละทำให้เกิดวัณโรคที่ปอดต่อมน้ำเหลืองตับหรือสมองได้ รองลงมาคือเชื้อพยาธิที่ชื่อว่านิวโมซิส-ตีส-คารินิไอ ซึ่งทำให้เกิดปอดบวมขึ้นได้(ไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ) ต่อมาเป็นเชื้อราที่ชื่อ คริปโตคอคคัสซึ่งทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ซึมและอาเจียน นอกจากนี้ยังมีเชื้อฉกฉวยโอกาสอีกหลายชนิด เช่นเชื้อพยาธิที่ทำให้ท้องเสียเรื้อรัง และเชื้อซัยโตเมก กะโลไวรัส (CMV) ที่จอตาทำให้ตาบอด หรือที่ลำไส้ทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย และถ่ายเป็นเลือดเป็นต้นในภาคเหนือตอนบน มีเชื้อราพิเศษ ชนิดหนึ่งชื่อ เพนนิซิเลียว มาร์เนฟฟิโอ ชอบทำให้ติดเชื้อที่ผิวหนัง(รูปที่ 6) ต่อมน้ำเหลืองและมีการติดเชื้อในกระแสโลหิตแคโปซี่ ซาร์โค มา เป็นมะเร็งของผนังเส้นเลือด ส่วนใหญ่จะพบตามเส้นเลือดที่ผิวหนัง มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีม่วงๆ แดงๆ บนผิวหนัง คล้ายจุดห้อเลือด หรือไฝ ไม่เจ็บไม่คันค่อยๆ ลามใหญ่ขึ้น ส่วนจะมีหลายตุ่ม(รูปที่ 7) บางครั้งอาจแตกเป็นแผล เลือดออกได้ บางครั้งแคโปซี่ซาร์โคมา อาจเกิดในช่องปากในเยื่อบุทางเดินอาหาร ซึ่งอาจทำให้มีเลือดออกมากๆ ได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือมะเร็งปากมดลูกได้ ดังนั้นผู้หญิงที่ติดเชื้อเอดส์จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก 6 เดือน นอกจากนี้คนไข้โรคเอดส์เต็มขั้นอาจมีอาการทางจิตทางประสาทได้ด้วยโดยที่อาจมีอาการหลงลืมก่อนวัย เนื่องจากสมองฝ่อเหี่ยว หรือมีอาการของโรคจิต หรืออาการชักกระตุก ไม่รู้สึกตัว แขนขาชาหรือไม่มีแรง บางรายอาจมีอาการปวดร้าวคล้ายไฟช๊อตหรือปวดแสบปวดร้อน หรืออาจเป็นอัมพาตครึ่งท่อน ปัสสาวะ อุจจาระไม่ออก เป็นต้น ในแต่ละปีหลังติดเชื้อเอดส์ร้อยละ 5-6 ของผู้ที่ติดเชื้อจะก้าวเข้าสู่ระยะเอดส์เต็มขั้นส่วนใหญ่ของคนที่เป็นโรคเอดส์เต็มขั้นแล้ว จะเสียชีวิตภายใน2-4 ปี จากโรคติดเชื้อฉกฉวยโอกาสที่เป็นมาก รักษาไม่ไห หรือโรคติดเชื้อที่ยังไม่มียาที่จะรักษาอย่างได้ผล หรือเสียชีวิตจากมะเร็งที่เป็นมากๆ หรือค่อยๆ ซูบซีดหมดแรงไปในที่สุด พบว่ายาต้านไวรัสเอดส์ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ในประเทศตะวันตกสามารถยืดชีวิตคนไข้ออกไปได้10 - 20 ปีและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น หรืออาจอยู่จนแก่ตายได้
อาการของเอดส์ มี 2 ระยะ
1. ระยะไม่มีอาการ ผู้ติดเชื้อจะมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะนี้ และบางคนไม่ทราบว่า ตัวเองติดเชื้อ จึงอาจแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
2. ระยะมีอาการ ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะเริ่มแสดงอาการ ภายหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 7-8 ปี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
- ระยะเริ่มปรากฎอาการ อาการที่พบคือ มีเชื้อราในปาก ต่อมน้ำเหลืองโต งูสวัด มีไข้ ท้องเสีย น้ำหนักลด มีตุ่มคันบริเวณผิวหนัง
- ระยะโรคเอดส์ เป็นระยะที่มีภูมิต้านทานลดลงมาก ทำให้ติดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น
ป้องกันตัวเอง ไม่ให้ติดเชื้อเอดส์ ได้อย่างไร
รักเดียว ใจเดียว หากจะมีเพศสัมพันธ์กับหญิง ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ที่มีเพศสัมพันธ์
ขอรับบริการปรึกษา เรื่อง โรคเอดส์ ก่อนแต่งงาน และก่อนที่จะมีบุตรทุกท้อง
ไม่ดื่มเหล้า และงดใช้สารเสพติดทุกชนิด

แหล่งที่มา
http://www.thaiall.com/
http://www.wikipidia.com/



โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง(Hypertension)

เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติ ทำให้หัวใจต้อง บีบตัวมากขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนไปตามหลอดเลือด ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันในหลอดเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว,ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง100-140 มิลลิเมตรปรอทใน ช่วงหัวใจบีบ และ 60-90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ดังนั้นผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจึงหมายถึงผู้ที่มีความดันเลือดเท่ากับ หรือสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท









ความดันโลหิตสูงมักไม่ค่อยจำเพาะกับอาการใดๆ ส่วนใหญ่มักตรวจพบจากการตรวจคัดกรองหรือพบโดยบังเอิญจากการมาพบแพทย์ด้วย ภาวะอื่นๆ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวนหนึ่งมักบอกอาการปวดศีรษะโดยเฉพาะบริเวณท้ายทอยในช่วงเช้าเวียนศีรษะ รู้สึกหมุน มีเสียงหึ่งๆ ในหู หน้ามืดหรือเป็นลมอย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวมักสัมพันธ์กับความวิตกกังวลมากกว่าภาวะจากความดันโลหิตสูง
ในการตรวจร่างกาย ผู้ป่วยที่สงสัยภาวะความดันโลหิตสูงจะตรวจพบโรคที่จอตาจากความดันโลหิตสูง (hypertensive retinopathy) จากการตรวจตาโดยใช้กล้องส่องตรวจในตา (ophthalmoscopy) โรคที่จอตาจากความดันโลหิตสูงสามารถจำแนกออกได้เป็น ระดับตามความรุนแรง การตรวจตาจะช่วยบอกว่าผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงมาเป็นระยะเวลานานเท่าไร



 โรคความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็น2ประเภทได้แก่

1.ความดันโลหิตสูงแบบปฐมภูมิ

ความดันโลหิตสูงแบบปฐมภูมิหรือความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ เป็นความดันโลหิตสูงชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ประมาณร้อยละ 90-95 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมด ในสภาพสังคมปัจจุบันพบว่าความดันเลือดเพิ่มขึ้นตามอายุ และความเสี่ยงของการเป็นความดันโลหิตสูงในวัยสูงอายุนั้นสูง ความดันโลหิตสูงเป็นผลจากความสัมพันธ์ซับซ้อนระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม มีการศึกษาพบยีนหลายชนิดที่มีผลเล็กน้อยต่อความดันโลหิต และมียีนจำนวนน้อยมากที่มีผลอย่างมากต่อความดันโลหิต แต่สุดท้ายปัจจัยด้านพันธุกรรมต่อความดันโลหิตสูงยังไม่เป็นที่เข้าใจกันมาก นักในปัจจุบัน ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมหลายอย่างที่มีผลต่อความดันเลือด พฤติกรรมที่ช่วยลดความดันโลหิตอย่างชัดเจน อาทิ การลดการบริโภคเกลือ การรับประทานผลไม้และอาหารที่มีไขมันต่ำ การออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก การลดการบริโภคแอลกอฮอล์ความเครียดอาจมีผลต่อความดันเลือดเล็กน้อย เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนเรื่องเทคนิคการคลายความเครียดในการลดความดันเลือด ปัจจัยอื่นๆที่อาจมีผลต่อความดันโลหิตสูงแต่ยังไม่ชัดเจน ได้แก่ การบริโภคคาเฟอีน และการขาดวิตามินดี เชื่อกันว่าภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งพบได้บ่อยในคนอ้วนและเป็นองค์ประกอบของกลุ่มอาการเมแทบอลิกเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูงการศึกษาเร็วๆ นี้พบนัยยะว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของชีวิต เช่น น้ำหนักแรกเกิดน้อย มารดาสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ และการไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่


 

2.ความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ

ความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ หมายถึงความดันโลหิตสูงที่สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดได้ เช่น โรคไตหรือโรคต่อมไร้ท่อ ผู้ป่วยจะมีอาการและอาการแสดงบางอย่างที่บ่งบอกว่าเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ เช่น สงสัยกลุ่มอาการคุชชิง หากมีอาการอ้วนเฉพาะลำตัวแต่แขนขาลีบ การทนต่อกลูโคสบกพร่อง หน้าบวมกลม ไขมันสะสมเป็นหนอกที่หลังและคอ และริ้วลายสีม่วงที่ผิวหนัง หรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคไทรอยด์และสภาพโตเกินไม่สมส่วน อาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้โดยจะตรวจพบอาการและอาการแสดงที่จำเพาะกับโรคนั้นๆ เสียงบรุยต์ ผิดปกติบริเวณท้องบ่งบอกภาวะหลอดเลือดแดงของไตตีบ ความดันโลหิตบริเวณแขนสูงแต่ความดันโลหิตที่ขาต่ำและ/หรือคลำชีพจรบริเวณหลอดเลือดแดงต้นขา ได้เบาหรือไม่ได้เลยบ่งบอกภาวะหลอดเลือดเอออร์ตาแคบ ภาวะที่มีความดันโลหิตสูงเป็นช่วงๆ ไม่สม่ำเสมอร่วมกับปวดศีรษะ ใจสั่น ซีด เหงื่อออกควรสงสัยโรคฟีโอโครโมไซโตมา ผู้ป่วยบางรายที่มีความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อยาลดความดัน กล่าวคือการใช้ยาไม่สามารถลดความดันเลือดกลับมาอยู่ในระดับปกติได้ อาจเป็นผลจากการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติมากเกินเป็นระยะเวลานาน ซึ่งแนวคิดนี้คือ "ความดันโลหิตสูงเหตุประสาท"
  








การป้องกัน

เนื่องจากภาระโรคจาก ความดันโลหิตสูงพบมากในผู้ป่วยที่ไม่ทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูง ดังนั้นกลยุทธ์ประชากรจึงจำเป็นต้องลดผลที่ตามมาจากความดันโลหิตสูงและลด ความจำเป็นในการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต แนะนำให้ลดความดันเลือดด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนเริ่มการรักษาด้วยยา ทั้งแนวทางเวชปฏิบัติของสมาคมความดันโลหิตสูงสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2004 โปรแกรมการให้การศึกษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2002 และแนวทางการรักษาของสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย (พ.ศ.2555) แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันความดันโลหิตสูงด้วยวิธีดังนี้
  • ควบคุมน้ำหนักให้เป็นปกติในผู้ใหญ่ (ให้ดัชนีมวลกายอยู่ที่18.5-23 กิโลกรัม/ตารางเมตร)
  • จำกัดโซเดียมในอาหารให้น้อยกว่า 100 มิลลิโมลต่อวัน (น้อยกว่า กรัมของโซเดียมคลอไรด์ต่อวัน หรือน้อยกว่า 2.4 กรัมของโซเดียมต่อวัน)
  • ออกกำลังกายชนิดแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอ เช่นการเดินเร็วๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน เกือบทุกวันในสัปดาห์
  • ลดการดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เกิน 2 drink/วันในผู้ชาย และไม่เกิน 1 drink/วันในผู้หญิง (1 drink เทียบเท่ากับสุรา (40%) 44มิลลิลิตรเบียร์ (5%) 355 มิลลิลิตร หรือไวน์ (12%) 148มิลลิลิตร)
  • รับประทานผักและผลไม้มากๆ (อย่างน้อย ส่วนต่อวัน)




การรักษา

1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

การรักษาภาวะความดันโลหิตสูงอย่างแรกเริ่มที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในลักษณะเดียวกันกับการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงรวมถึงการปรับเปลี่ยนอาหาร,การออกกำลังกาย และการลดน้ำหนัก วิธีดังกล่าวพบว่าช่วยลดความดันเลือดในผู้ป่วยได้อย่างมาก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็ยังคงแนะนำให้ปฏิบัติร่วมกับการใช้ยาลดความดันโลหิตแม้ว่าความดันเลือดจะสูงจนต้องพิจารณาใช้ยาก็ตาม
การปรับเปลี่ยนอาหารเช่นลดปริมาณเกลือพบว่ามีประโยชน์ จากการศึกษาในระยะยาว ในชาวคอเคเซียนเรื่องการรับประทานอาหารชนิดโซเดียมต่ำพบว่ามีประโยชน์ในการลดความดันเลือดทั้งในผู้ที่มีความดันเลือดปกติและผู้ป่วยความดันโลหิตสูง นอกจากนี้อาหารลดความดันโลหิต หรืออาหารที่มีถั่ว ธัญพืช ปลา สัตว์ปีก ผักและผลไม้ที่แนะนำโดยสถาบันหัวใจ ปอดและเลือดแห่งชาติสหรัฐอเมริกาช่วยลดความดันเลือดได้ หลักการแล้วคือการลดปริมาณการบริโภคโซเดียม แม้ว่าอาหารดังกล่าวจะมีโพแทสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม หรือโปรตีนมากก็ตาม วิธีอื่นๆ เพื่อคลายความเครียดทางจิตใจที่โฆษณาว่าช่วยลดความดันโลหิตเช่นการทำสมาธิ เทคนิคคลายความกังวล หรือการป้อนกลับทางชีวภาพ พบว่ามีประสิทธิผลโดยรวมไม่ดีกว่าการให้สุขศึกษา และหลักฐานที่ยืนยันประสิทธิภาพยังมีคุณภาพต่ำ

2.การใช้ยา

ยาลดความดันโลหิตมีอยู่หลายกลุ่มที่ใช้ในปัจจุบัน การเลือกสั่งยาลดความดันโลหิตโดยแพทย์ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงของโรคหัวใจและ หลอดเลือด รวมทั้งค่าความดันโลหิตของแต่ละบุคคล เพื่อให้ได้ข้อมูลด้านหัวใจและหลอดเลือดโดยรวมของคนหนึ่งๆ หลักฐานไม่สนับสนุนการลดความเสี่ยงการเสียชีวิตหรืออัตราการเกิดภาวะแทรก ซ้อนทางสุขภาพด้วยการใช้ยาลดความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตไม่สูงมากและไม่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ
หากเริ่มการรักษาด้วยยา คณะกรรมการร่วมแห่งชาติว่าด้วยความดันโลหิตสูง แนะนำว่าแพทย์ไม่ควรเฝ้าติดตามเฉพาะการตอบสนองต่อการรักษาเพียงอย่างเดียวแต่ต้องประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาด้วย การลดความดันเลือดลง มิลลิเมตรปรอทสามารถลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 34 ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือดได้ร้อยละ 21 และลดโอกาสของภาวะสมองเสื่อม หัวใจล้มเหลว และอัตราการตายจากโรคหัวใจหลอดเลือด เป้าหมายของการรักษาควรลดความดันเลือดลงน้อยกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทในประชากรทั่วไป และควรต่ำกว่านี้ในผู้ที่เป็นเบาหวานหรือโรคไต (ผู้เชี่ยวชาญบางท่านแนะนำให้ลดความดันเลือดลงในระดับต่ำกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท)

3.การใช้ยาหลายกลุ่มร่วมกัน

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ยามากกว่าหนึ่งกลุ่มเพื่อควบคุมความดันโลหิต แนวทางเวชปฏิบัติของ JNC7และ ESH-ESC แนะนำให้เริ่มใช้ยาสองกลุ่มหากความดันช่วงหัวใจบีบมากกว่าเป้าหมาย 20 มิลลิเมตรปรอท หรือความดันช่วงหัวใจคลายมากกว่าเป้าหมาย 10 มิลลิเมตรปรอท ยาที่นิยมใช้ร่วมกันได้แก่ ยาต้านระบบเรนิน-แองจิโอเทนซินกับแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ หรือ ยาต้านระบบเรนิน-แองจิโอเทนซินกับยาขับปัสสาวะ ยาที่อาจใช้ร่วมกันได้ ได้แก่ แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์กับยาขับปัสสาวะบีตาบล็อกเกอร์กับยาขับปัสสาวะแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ชนิดไดไฮโดรไพริดีน กับบีตาบล็อกเกอร์หรือ แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ชนิดไดไฮโดรไพริดีนกับเวราพามิล ยากลุ่มที่ไม่ควรใช้ร่วมกันได้แก่ แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ชนิดนอน-ไดไฮโดรไพริดีน กับบีตาบล็อกเกอร์ยาต้านระบบเรนิน-แองจิโอเทนซินร่วมกัน ,ยาต้านระบบเรนิน-แองจิโอเทนซินกับบีตาบล็อกเกอร์และบีตาบล็อกเกอร์กับยาที่ออกฤทธิ์กับส่วนกลาง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มเอซีอีอินฮิบิเตอร์หรือแองจิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล็อกเกอร์ ร่วมกับยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDsเนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดไตวายเฉียบพลันซึ่งรู้จักกันในอุตสาหกรรมสุขภาพในออสเตรเลียในชื่อของ "triple whammyมีการใช้ยาเม็ดรวมซึ่งประกอบด้วยยาลดความดันสองกลุ่มเพื่อเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ป่วย ซึ่งจำกัดไว้พิจารณาใช้เฉพาะเป็นรายๆ ไป


โรคในอาเซียน

โรคในอาเซียน

ประเทศไทย

โรคอหิวาตกโรค



1.ลักษณะโรค


เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหารจากแบคทีเรียชนิดเฉียบพลัน เริ่มด้วยอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำอย่างมากโดยไม่มีอาการปวดท้อง บางรายอุจจาระขาวขุ่นเหมือนน้ำซาวข้าว บางครั้งมีคลื่นไส้ อาเจียน สูญเสียน้ำอย่างรวดเร็วจนเกิดภาวะเป็นกรดในเลือด และการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว สำหรับเชื้อโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง(อหิวาตกโรค) ชนิด El Tor biotype ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการเลยก็ได้ ในรายรุนแรงน้อยอาจพบแต่อาการถ่ายเป็นน้ำ พบได้บ่อยในเด็ก


2.วิธีติดต่อ


ติดต่อโดยการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อที่มีชีวิตปนอยู่ เชื้อ El Tor สามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน การรับประทานอาหารทะเลดิบ หรืออาหารดิบๆสุกๆ เป็นสาเหตุของการระบาดทั่วไป การติดต่อระหว่างบุคคลสู่บุคคลโดยตรงพบได้น้อยมาก

3.วิธีการป้องกัน
  - ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงใหม่หรือแน่ใจว่าสะอาด
  - ล้างมือก่อนรัปประทานอาหาร
  - รักษาความสะอาดสถานที่ข้าวของเครื่องใช้
ประเทศกัมพูชา
โรคมือเท้าปาก

1.ลักษณะโรค
โรคมือเท้าปาก เป็นโรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็กโดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี มักมีการระบาดช่วงฤดูฝน สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเตอโรไวรัส มีหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง กรณีที่มีสมองอักเสบร่วมด้วย มักเกิดจากเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71 หรือ อีวี 71 มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้
2.วิธีติดต่อ
เชื้อไวรัสแพร่ผ่านทางระบบทางเดินอาหารและการหายใจ สามารถติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วย สามารถติดต่อโดยอ้อมจากการสัมผัสผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู     น้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ โรคมือเท้าปากมักระบาดในโรงเรียนชั้นอนุบาลเด็กเล็ก             หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก โรคมีระยะฟักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ จึงสามารถติดต่อกันได้โดยที่ยังไม่แสดงอาการ
3.วิธีการป้องกัน
  - แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคไม่ให้ไปสัมผัสกับเด็กคนอื่น
  - ทำความสะอาดของเล่นและสภาพแวดล้อมทุกวัน การทำความสะอาดโดยใช้สบู่ ผงซักฟอกหรือ     น้ำยาทำความสะอาดทั่วไป
ประเทศพม่า(เมียนมาร์)
โรคเท้าช้าง

1.ลักษณะโรค
โรคนี้เกิดจาดพยาธิตัวกลมที่พบบ่อยคือเชื้อ Wuchereria bancrofti และ Brugia malayi ซึ่งอาศัยอยู่ในคนเท่านั้น เชื้อจะเข้าท่อน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลือง เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนได้ 4-6 ปีและออกลูกออกหลานเป็นล้านตัวเข้ากระแสเลือด ยุงกัดคนที่เป็นและรับเชื้อไป เมื่อไปกัดคนอื่นจะปล่อยเชื้อสู่คนอื่น อาการที่สำคัญคือมีอาการบวมของอวัยวะที่พบได้บ่อยคือ ขา แขน อวัยวะเพศ
2.อาการ
อาการของโรคแบ่งได้เป็น อาการเฉียบพลัน อาการโรคเรื้อรัง และไม่มีอาการ
อาการเฉียบพลัน
 เกิดการอักเสบของหลอดน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลืองโดยมากตรวจพบเชื้อในท่อน้ำเหลืองหรือต่อมน้ำเหลืองของอวัยวะต่างๆที่สำคัญผู้ป่วยส่วนมากมีอาการลมพิษ (urticaria) ร่วมด้วย ตรวจเลือดพบ eosinophils สูงพร้อมกับพบตัวอ่อน (microfilariae) ผิวหนังตรงตำแหน่งที่หลอดน้ำเหลืองอุดตันเหล่านั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงคือ เกิดบวมแข็ง ผื่นแดง หลอดน้ำเหลืองจะโป่งมีน้ำเหลืองคั่งอยู่ คลำได้เป็นก้อนขรุขระ

อาการโรคเรื้อรัง
มักจะมีอาการบวมโดยเกิดจากเชื้อ Wuchereria bancrofti ตำแหน่งที่เชื้อพยาธิตัวแก่ชอบอาศัยคือบริเวณอัณฑะทำให้เกิดถุงน้ำในท่อนำเชื้ออสุจิ และหากเป็นมากจะเกิดอาการบวมของอัณฑะ
ผู้ป่วยมีต่อมน้ำเหลืองโต คลำดูแข็งเหมือนยาง ส่วนมากเกิด hydrocoele และ elephantiasis (โรคเท้าช้าง) เนื่องจากตัวแก่ของพยาธิตาย ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดน้ำเหลือง เป็นผลทำให้เกิดการอุดตันของต่อมน้ำเหลืองต่างๆ เช่น ถ้าเกิดบริเวณกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดปัสสาวะปนน้ำเหลือง (chyluria) หรืออุดตันบริเวณช่องท้องทำให้เกิดน้ำในช่องท้อง ชนิด chyloperitoneum และตามแขนขาทำให้เกิด elephantiasis

ไม่มีอาการ

กลุ่มที่ไม่มีอาการจะแบ่งออกเป็น 2 พวกได้แก่

 - ตรวจพบพยาธิในกระแสเลือดแต่ไม่มีอาการ พวกนี้มักจะมีปัญหาเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน
 - ไม่พบตัวพยาธิแต่ตรวจพบ Circulating filarial antigen (CFA)ในเลือด                    เมื่อให้ยารักษาระดับ Circulating filarial antigen (CFA) จะลดลง


3.การป้องกัน
 - ทำลายยุงและแหล่งลูกน้ำ
 - ป้องกันไม่ให้ยุงกัน มุ้ง ยาทากันยุง

 - ให้รีบรักษาผู้ที่เป็นโรคนี้

ประเทศเวียดนาม
โรคหัด


1.ลักษณะโรค
เป็นโรคติดต่อทางระบบหายใจ ติดต่อกันได้ง่ายทางเสมหะ น้ำลายเกิดจากเชื้อ Measles virus คนที่ได้เชื้อนี้จะมีไข้สูง ตาแดง ไอ หลังจากมีไข้ 3-7 วันก็จะมีผื่นซึ่งเริ่มที่หน้าก่อน และลามไปทั้งตัว เป็นโรคติดต่อโรค มักเป็นกับเด็กเล็ก 9 เดือน- 6 ปี ติดต่อโดยทางหายใจ น้ำลายที่ออกจากปาก คอ มักจะระบาดตอนฤดูหนาวถึงฤดูร้อน

2.อาการ
- ระยะฟักตัว คือจะเกิดอาการหลังได้รับเชื้อไปแล้ว 8-12 วัน
- อาการนำเริ่มต้นด้วยเด็กจะมีไข้สูง อาการงอแง กระสับกระส่าย ปวดตามตัว น้ำมูกไหล ตาจะแดง   และแพ้แสง ไอแห้งๆ มีอาการไข้สูงปวดตามตัว  ระยะที่เริ่มเป็น 2-3 วันแพทย์อาจตรวจพบผื่นแดง   เล็กๆในปากเรียก Koplick'spot
- ระยะออกผื่น หลังมีไข้ 3-4 วันจะไอมากขึ้น มีผื่น โดยผื่นขึ้นหน้าผาก และลามไปที่หน้า คอ และ   ลำตัวในเวลา 24- 36 ชั่วโมง เมื่อผื่นขึ้นอาการปวดเมื่อจะดีขึ้น ไข้จะค่อยๆลง  ผื่นจะใช้เวลา 3     วัน ลามจากหัวถึงขา ฝ่ามือฝ่าเท้าจะไม่มีผื่น ผื่นจะเริ่มจางที่ศีรษะก่อน ผื่นจะจางใน 7-10 วัน       เหลือรอยดำๆ
  ผู้ที่ขาดวิตามินเอ หรือผู้ป่วยโรคเอดส์จะมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป

3.การติดต่อ
โรคนี้จะติดต่อโดยคนใกล้ชิดได้สัมผัสกับเสมหะ หรือน้ำลายของผู้ป่วยที่เกิดจากการไอหรือจามเชื้อที่อยู่ในอากาศหรือผิวของวัตถุจะยังคงติดต่อสู่คนอื่นได้ 2-4 ชั่วโมง

สำหรับผู้ป่วยจะแพร่เชื้อก่อนและหลังมีผื่น 4 วัน

4.การป้องกัน
สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน MMR ตามตารางการฉีด หรือสามารถฉีดวัคซีนก่อนสัมผัสโรค หรือหลังสัมผัสโรคไม่เกิน 3 วันก็กันโรคได้

ประเทศลาว
โรคเมลิออยด์



1.ลักษณะโรค
โรคเมลิออยด์เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีอาการแสดงที่จำเพาะยากต่อการวินิจฉัย ไม่มีชุดตรวจคัดกรองใดๆ ที่มีความแม่นยำในการวินิจฉัยเบื้องต้นมีอัตราการเสียชีวิตสูง ยากต่อการรักษาผู้ป่วยมีอาการแสดงได้หลากหลายและไม่มีอาการจำเพาะ ผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการไข้สูงเพียงอย่างเดียวอาจมีไข้สูงช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือดโดยไม่มีอาการจำเพาะที่อวัยวะใดๆ อาจมีอาการปอดอักเสบติดเชื้อมีไข้ไอมีเสมหะเจ็บหน้าอกหรืออาจมีเนื้อตายหรือฝีหนองที่ปอดตับหรือม้าม ผู้ป่วยมักมีอาการล้มเหลวของอวัยวะต่างๆจากการติดเชื้อ (multipleorgan failure) และเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว

2.อาการ
อาการและอาการแสดงของโรคนี้อาจพบได้หลายรูปแบบ และไม่มีอาการเฉพาะอาจมาด้วยอาการแตกต่างกันดังต่อไปนี้
·ไข้สูงมีอาการ sepsis, severe sepsis หรือ septic shock จากการติดเชื้อในกระแสเลือด(bacteremia) การติดเชื้อในกระแสเลือดพบได้ประมาณ 50% ของผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ทั้งหมด
·ปอดติดเชื้อเฉียบพลัน(acute pneumonia) เช่นไข้ ไอมีเสมหะ เจ็บหน้าอก การติดเชื้อในปอดพบได้ประมาณ 50% ของผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ทั้งหมดและมักพบร่วมกับการติดเชื้อในกระแสเลือด
·ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ(urinary tract infection) เช่น ไข้ และอาจมีปัสสาวะแสบขัด การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะพบได้ประมาณ25% ของผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ที่ได้รับการเพาะเชื้อจากปัสสาวะด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อที่จำเพาะกับเชื้อBurkholderia pseudomallei
·ติดเชื้อในข้อ(acute septic arthritis) เช่น ไข้ มีข้อบวม แดง ร้อน การติดเชื้อในข้อพบได้ประมาณ 10% ของผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ทั้งหมด
·ฝี(abscess) ซึ่งพบได้บ่อยในตับม้าม ต่อมน้ำเหลือง ตามผิวหนัง และอาจพบได้ในทุกอวัยวะในร่างกายเช่น ฝีในสมองฝีในตา ฝีในช่องคอชั้นลึก ฝีในปอด หนองในเยื่อหุ้มปอด หนองในเยื่อหุ้มหัวใจหลอดเลือดโป่งพองจากการติดเชื้อ  ฝีในไต และฝีในต่อมลูกหมาก ฝีในตับและม้ามพบได้ประมาณ 33% ของผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ที่ได้รับการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง
·ต่อมน้ำลายพาโรติดอักเสบเป็นฝี พบได้ประมาณ 33% ของผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ในเด็ก
·ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการรุนแรงและเฉียบพลัน(ร้อยละ 90%)แต่ผู้ป่วยบางรายก็อาจมีอาการเรื้อรังและให้อาการคล้ายโรคอื่นๆ ได้ เช่นไอเรื้อรังคล้ายวัณโรค แผลเรื้อรังคล้ายมะเร็งผิวหนัง
·ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเช่นเบาหวาน ทาลัสซีเมีย และโรคไต มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเมลิออยด์มากกว่าคนปกติแต่ผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ประมาณ 25%ก็ไม่มีประวัติโรคประจำตัวใดๆ มาก่อน

3.วิธีการติดต่อ
โดยทั่วไป เชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายคนโดยผ่านทางผิวหนัง ถ้าผิวหนังมีการสัมผัสดินและน้ำโดยไม่จำเป็นต้องมีรอยขีดข่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีการสัมผัสดินและน้ำเป็นเวลานานๆเช่นการทำนาและการจับปลาและในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันลดลงเช่นผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยโรคไตกรณีที่มีบาดแผลและไปสัมผัสดินและน้ำจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดโรคเมลิออยด์มากขึ้นเชื้อเมลิออยด์สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางการรับประทานโดยการทานอาหารที่มีดินปนเปื้อนหรือการทานน้ำที่ไม่ได้ผ่านการต้มสุกผ่านทางการหายใจโดยการหายใจฝุ่นดินเข้าไปในปอดหรืออยู่ภายใต้ลมฝน นักจุลชีววิทยาอาจติดเชื้อจากอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการได้โรคนี้โดยปกติไม่ติดต่อจากคนสู่คนแต่อาจติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ถ้าสัมผัสสารคัดหลั่งที่ออกมาจากสัตว์ที่เป็นโรคหรือรับประทานเนื้อหรือนมจากสัตว์ที่เป็นโรค

4. การป้องกัน
 - หลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำโดยตรง หากต้องสัมผัสดินหรือน้ำ เช่นทำการเกษตร จับปลา ลุยน้ำ    หรือลุยโคลน ควรสวมรองเท้าบูท ถุงมือยาง กางเกงขายาว หรือ ชุดลุยน้ำ
 - หากสัมผัสดินหรือน้ำ ควรทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำสะอาด และฟอกสบู่ทันที
 - หากมีบาดแผลที่ผิวหนัง ควรรีบทำแผลด้วยยาฆ่าเชื้อ ไม่ใส่ดินหรือสมุนไพรใดๆ ลงบนแผล และ    หลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำจนกว่าแผลจะหายสนิท
 - สวมรองเท้าทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน ไม่เดินเท้าเปล่า
 - ดื่มน้ำต้มสุก (เนื่องจาก น้ำฝน น้ำบ่อ น้ำบาดาล และน้ำประปา อาจมีเชื้อปนเปื้อนได้ และการก    รองด้วยเครื่องที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างถูกต้องไม่สามารถฆ่าเชื้อเมลิออยด์ได้)
 - ทานอาหารสุกสะอาด (ไม่ทานอาหารที่มีการปนเปื้อนจากดิน ฝุ่นดิน หรือ อาหารที่ล้างด้วยน้ำที่    ไม่สะอาด)
 - หลีกเลี่ยงการสัมผัสลมฝุ่น และการอยู่ท่ามกลางสายฝน
 - เลิกเหล้า เลิกบุหรี่
 - ห้ามทานยาต้ม ยาหม้อ ยาชุด ยาลูกกลอน
 - ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวจะมีความเสี่ยงกับการเป็นโรคเมลิออยด์สูงขึ้นและควรดูแลสุขภาพให้ดี

ประเทศฟิลิปปินส์
โรคไข้หวัดหมู



โรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดหมูซึ่งเรียกย่อว่า SIV
เชื้อไวรัสไข้หวัดหมู เป็นเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) ซึ่งที่เรารู้จักกันดี คือกลุ่มไวรัสที่เรียกว่า Orthomyxoviridae
ไวรัสไข้หวัดใหญ่แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ ไวรัสไข้หวัดใหญ่เอ (Influenzavirus A) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ บี (Influenzavirus B) และไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซี (Influenzavirus C)
1.อาการ
อาการของไข้หวัดหมูในหมู : มักเป็นอาการไม่รุนแรง คนเลี้ยงต้องคอยสังเกต ซึ่งอา การที่พบได้ (ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอาการ) คือ หมูตัวร้อนทันที ซึม ไม่ตื่นตัวเหมือนเดิม เบื่ออาหาร ไอ/ร้องผิดปกติ จาม มีสารคัดหลั่งจากจมูก หายใจลำบาก และ ตาแดง หรือ ตาอักเสบ
อาการไข้หวัดหมูในคน : อาการมักเกิดภายใน 18-72 ชั่วโมงหลังสัมผัสเชื้อ (ระยะฟักตัวของโรค) และไวรัสจะแพร่ติดต่อได้ตั้งแต่ร่างกายติดโรค โดยทั่วไปประมาณ 1 วันก่อนเกิดอาการไปจนอาการต่างๆหายไป (โดยทั่วไปประมาณ 5-7 วันหลังมีอาการ) ซึ่งอาการไข้หวัดหมูในคน จะเหมือนกับอาการจากไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ได้แก่ มีไข้ อาจเป็นไข้สูง ไข้ต่ำ หรือบางคนอาจไม่มีไข้ ไอ (ไม่มาก) คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตัว ปวดศีรษะ รู้สึกหนาวสั่น อ่อนเพลีย บางรายอ่อนเพลียมาก ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งทั้ง 3 อาการหลังพบได้ในไข้ หวัดหมูบ่อยกว่าในไข้หวัดธรรมดา

2.การติดต่อ
ไข้หวัดหมูในหมู่หมู : เชื่อว่า มีหมู ทั้งหมูป่า หมูบ้าน และหมูในฟาร์ม เป็นรังโรค แต่บ่อยครั้งไวรัสเหล่านี้จะมีความรุนแรงขึ้น จนก่อให้หมูเกิดเป็นไข้หวัดใหญ่ได้
ไข้หวัดใหญ่ในหมู่หมู เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิด การสัมผัสสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลาย หรือละอองไวรัสในอากาศจากการไอ จาม จึงเกิดการติดต่อจากเชื้อไวรัสของหมูที่เป็นโรคกับหมูไม่เป็นโรคในการเลี้ยงดู หรือในฟาร์ม เช่น ใช้จมูกดุนกัน หรือในการส่งหมู ซึ่งโรคระบาดนี้จะเกิดได้รวดเร็วมาก ภายใน 2-3 วันหมูเกือบทุกตัวในฟาร์มก็ติดโรคเกือบหมด
อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสไม่สามารถติดต่อผ่านทางการกินเนื้อหมูที่เป็นโรค ดังนั้น การกินเนื้อหมูที่เป็นโรคจึงปลอดภัย เพราะไข้หวัดหมูเป็นโรคติดต่อทางอากาศ (Airborne infection) ไม่ใช่โรคติดต่อทางอาหาร หรือน้ำดื่ม (Foodborne infection)
อนึ่ง ไข้หวัดใหญ่ทั้งในหมู ในนก และในคน สามารถติดต่อกันได้ และสามารถเปลี่ยน แปลงสายพันธุ์ผสมกันได้ เช่น ที่เคยมีไข้หวัดนกระบาดในหมู ในจีน และในเวียตนาม โดยเป็นไข้หวัดนกสายพันธุ์ H3N2 และต่อมาพบว่ามีหมูติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ในจีนและในอินโดนีเซีย
ไข้หวัดหมูในคน : ไข้หวัดหมูในหมูจะติดต่อสู่คนได้มักต้องเป็นคนที่ใกล้ชิด คลุกคลีกับหมู และมีโอกาสสัมผัสน้ำมูกน้ำลาย และละอองการไอ จามของหมู ซึ่ง คือ คนเลี้ยงหมูนั่นเอง นอกจากนั้นผู้ที่มีโอกาสติดไข้หวัดหมูจากหมูรองลงมา คือ สัตวแพทย์ที่ดูแลหมู ซึ่งเมื่อติดไข้ หวัดหมูจากหมูแล้ว คนๆนั้นก็แพร่กระจายเชื้อไวรัสไข้หวัดหมูสู่คนอื่นๆ ด้วยวิธีการเดียวกับการแพร่กระจายติดต่อของไข้หวัดใหญ่ที่เรารู้จักกันดี ซึ่งคือไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และถ้าเกิดเป็นสายพันธุ์ที่รุนแรง ก็อาจก่อให้เกิดการระบาดของไข้หวัดหมูไปในสถานที่ต่างๆได้ เช่น การระบาดในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2541 และในฟิลิบปีนส์ในปี พ.ศ. 2550 ทั้งนี้การติดต่อ/ระ บาดจากคนสู่คน คือ การสัมผัสน้ำมูกน้ำลาย การคลุกคลี และการสัมผัสไวรัสในละอองอากาศจากการไอ จาม หัวเราะของคนเป็นโรคนี้

3.การป้องกัน
การป้องกันโรคไข้หวัดหมูในคน เช่นเดียวกับในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไป/โรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ซึ่งที่สำคัญ ได้แก่
รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ)
ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดเสมอ เพราะมือจะเป็นตัวสัมผัสเชื้อ และเมื่อมือสัมผัส จมูก ปาก และตา เชื้อจะเข้าสู่ร่างกาย ก่อการติดโรค
หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัส ปาก จมูก ตา
ไม่ใช้ ช้อน ส้อม แก้วน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนทุกวัน ในปริมาณเหมาะสมที่ไม่ทำให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน กินผักและผลไม้ให้มากๆในทุกมื้ออาหาร
หลีกเลี่ยงที่แออัด หรือที่สาธารณะ โดยเฉพาะในช่วงมีการระบาดของโรค
ไอ จาม ต้องปิดปาก ปิดจมูก สั่งน้ำมูกโดยใช้ทิชชูเสมอ และทิ้งในถังขยะเสมอ
รู้จักใช้หน้ากากอนามัย ซึ่งในหลักการ คนที่ควรใช้หน้ากากอนามัย คือ คนที่ป่วย แต่ในบ้านเรา คนป่วยยังไม่ยอมใช้ ดังนั้นปลอดภัยไว้ก่อน ด้วยการใช้หน้ากากอนามัยในช่วงมีการระบาดของโรค และเราต้องเข้าไปอยู่ในที่แออัด
ดูแลสังคมเพื่อป้องกันการระบาดของโรค โดยเมื่อมีไข้ไม่ว่าจากสาเหตุใด ควรอยู่กับบ้าน (ยกเว้นไปหาแพทย์) จนกว่าไข้จะลงปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน และเมื่อมีอาการไอ ควรใช้หน้ากากอนามัยเสมอทั้งเมื่ออยู่ในบ้านและเมื่อออกจากบ้าน
รับฟังข่าวสารเสมอเพื่อการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดต่างๆตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข



ประเทศสิงคโปร์
ไข้เลือดออกเดงกี


1.อาการ
การดำเนินการของโรคไข้เลือดออกเดงกีที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนประมาณ 7-10 วันแบ่ง ได้เป็น 3 ระยะ คือ
- ระยะไข้ ประมาณ 2-7 วัน ทุกรายจะมีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ซึ่งบางรายอาจมีอาการชักได้ ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการน้ำมูกหรืออาการไอ และอาจมีอาการเบื่ออาหาร อาเจียน บางรายอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย อาการเลือดออกที่อาจพบได้ในระยะนี้ คือ จุดเลือดออกเล็กๆกระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดาออก หรือเลือดออกตามไรฟันได้
- ระยะวิกฤต/ช็อก เป็นระยะที่มีการั่วของพลาสมา โดยระยะรั่วจะมีประมาณ 24-48 ชั่วโมง ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการช็อกได้ หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและถูกต้อง ส่วนใหญ่ก็จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
- ระยะฟื้นตัว ระยะฟื้นตัวของผู้ป่วยค่อนข้างเร็ว ในผู้ป่วยที่ไม่ช็อกเมื่อไข้ลดส่วนใหญ่ก็จะดีขึ้น ส่วนผู้ป่วยช็อกถึงแม้จะมีอาการรุนแรง ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็จะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

2.การติดต่อ
เชื้อไวรัสเดงกีแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งได้โดยมียุงลายเป็นตัวนำที่สำคัญ ถึงแม้ว่าจะมียุงลายหลายชนิดที่สามารถแพร่เชื้อได้ แต่ที่มีความสำคัญทางด้านระบาดวิทยาของโรคไข้เดงกีและไข้เลือดออกเดงกี คือ ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti  )ยุงลายมีขนาดค่อนข้างเล็ก สีขาวสลับดำ แหล่งเพาะพันธุ์ คือภาชนะขังน้ำที่คนทำขึ้นและมีน้ำขังเกิน โดยทั่วไปยุงลายจะออกหากินกัดคนในเวลากลางวัน พบอยู่ภายในบ้านและรอบๆบ้านมีระยะบินไกล 50 เมตรจะพบยุงลายชุกชุมมากในฤดูฝน

3.การป้องกัน
   ได้แก่การตัดวงจรชีวิตของยุงลาย
      1. ระยะไข่ ทำได้ง่ายๆโดยการขัดล้างตามผิวภาชนะต่างๆเป็นประจำทุกสัปดาห์
      2. ระยะลูกน้ำและตัวโม่ง กระทำได้โดย ปกปิดภาชนะเก็บน้ำด้วยฝาอย่างมิดชิด, ถ้าเป็นภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ ให้ใส่ทรายอะเบท หรือหมั่นขัดล้าง เปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน หรือเลี้ยงปลาหางนกยูง, การใช้แบคทีเรีย BTI, คว่ำภาชนะที่ไม่ได้ใช้, ทำลายเศษวัสดุที่อาจเป็นที่ขังน้ำ,ใส่เกลือ หรือน้ำส้มสายชู หรือผงซักฟอกลงในจานรองขาตู้กันมด เป็นต้น
      3. ระยะยุงตัวเต็มวัย สามารถกำจัดได้โดย การใช้สารเคมี, การใช้ไม้แบดไฟฟ้า และการป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยใช้สารทาป้องกันยุง (repellents) ในระยะยาวต้องปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมไม่ให้เอื้อต่อการแพร่พันธุ์ของยุงลาย

ประเทศบรูไน
โรคไข้เลือดออก


โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ โดยมียุงลายตัวเมียเป็น พาหะโรค โดยยุงลายตัวเมียจะกัดและดูดเลือดของผู้ ป่วยโรคไข้เลือดออก เชื้อไวรัสเดงกีในเลือดของผู้ป่วยจะเข้าไปฟักตัวและเพิ่มจำนวนในตัวยุง เชื้อนี้สามารถมีชีวิตอยู่ในตัวยุงตลอดอายุของยุง คือประมาณ 1-2 เดือน หากยุงลายตัวนั้นกัดคนอื่น เชื้อไวรัสเดงกีในยุงจึงถูกถ่ายทอดไปให้แก่คนได้
1.อาการ
ส่วนใหญ่คนที่ได้รับเชื้อไวรัสเดงกีเป็นครั้งแรกมักไม่มีอาการ หรืออาจมีเพียง ไข้สูง ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และเบื่ออาหารเท่านั้น แต่ในคนที่ติดเชื้อนี้เป็นครั้งที่ 2 โดยเฉพาะเชื้อนั้นเป็นเชื้อที่ต่างสายพันธุ์กับครั้งแรก ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงถึงช็อกได้ โดยอาการของโรคไข้เลือดออกแบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ ระยะไข้ ระยะช็อก และระยะพักฟื้น
ระยะไข้ หรือ ระยะที่ 1: ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีไข้สูงลอย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หน้าแดง อาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกบริเวณอื่นๆ เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน อาเจียนมีเลือดปน ถ่ายอุจจาระสีดำ เป็นต้น โดยอาการจะเป็นอยู่ประมาณ 2-7 วัน

ระยะช็อก หรือ ระยะที่ 2: ในบางรายขณะที่ไข้ลดลง ผู้ป่วยจะมีอาการทรุดลง คือ ซึมลง กระสับกระส่าย เหงื่อออก ปลายมือปลายเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็ว และเบา ปัสสาวะน้อย ในบางรายมีอาการปวดท้องมาก ท้องโตขึ้น หายใจหอบเหนื่อย เนื่องจากมีน้ำรั่วออกจากหลอดเลือดเข้าสู่ช่องเยื่อหุ้มปอด และช่องท้อง บางรายมีเลือดออกมาก เช่น เลือดออกในระบบทางเดินอาหารทำให้อุจจาระสีดำ หรืออาเจียนเป็นเลือด หรือมีเลือดกำเดาไหล ผู้ป่วยในระยะนี้อาจมีอาการช็อก ความดันโลหิต (เลือด) ต่ำ และถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน แต่ในบางราย ผู้ป่วยมีอาการไม่มาก หลังจากไข้ลง ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจากระยะที่ 1 เข้าสู่ระยะที่ 3 เลย

ระยะพักฟื้น หรือ ระยะที่ 3: ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น โดยรับประทานอาหารได้มากขึ้น ชีพจรเต้นช้าลง ความดันโลหิตกลับมาสู่ปกติ ปัสสาวะออกมากขึ้น ในบางรายอาจมีผื่นเป็นวงขาวๆบนพื้นสีแดงตามผิวหนังโดยเฉพาะที่ขาทั้ง 2 ข้าง ผื่นมักไม่คันและไม่เจ็บ

2.สาเหตุไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมียบินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไ/วรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่นยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง

3.การป้องกัน
ภาคครัวเรือนต้องป้องกันโดยการกำจัดแหล่งน้ำที่เพาะพันธุ์ยุง และการป้องกันส่วนบุคคล
ภาคชุมชนจะต้องมีการรณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งลูกน้ำในชุมชนอย่างน้อยปีละ 2-3 ครั้ง และจะต้องทำพร้อมกันถั่วประเทศโดยการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ

ประเทศมาเลเซีย
ไข้รากสาดใหญ่


1.อาการ
โรคไข้รากสาดใหญ่ทั้ง 3 ประเภท รวมถึงโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Rickett sia นี้ ในช่วงประมาณ 5 วันแรก อาการจะเหมือนกัน ได้แก่ มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วย หลังจากนั้นแต่ละโรคจะมีอาการเด่นที่แตกต่างกันไป แต่โดยรวมก็จะคล้ายคลึงกัน คือ
อาการไอ ส่วนใหญ่เป็นอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ ในผู้ป่วยที่เป็นไข้ราก สาดใหญ่ชนิดระบาด พบอาการไอได้มากถึง 70% ถ้าเป็นไข้รากสาดใหญ่จากหนู หรือไข้ราก สาดใหญ่จากป่าละเมาะ พบผู้ป่วยเกิดอาการได้น้อยกว่า
ผื่นที่ผิวหนัง ผู้ป่วยไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาดและไข้รากสาดใหญ่จากหนูพบผื่นที่ผิวหนังได้ถึง 80% ในขณะที่ผู้ป่วยไข้รากสาดใหญ่จากป่าละเมาะพบเป็นผื่นได้ประ มาณ 50% และหากเป็นคนในพื้นที่ที่มีความชุกของโรคสูงแล้ว แทบจะไม่พบผื่นเลย ผื่นที่ขึ้นในช่วงแรกจะเป็นผื่นชนิดแบนเรียบสีแดง ต่อมาจะเป็นตุ่มนูนเล็กๆ ผื่นจะเริ่มเกิดที่บริเวณลำตัวช่วงบน รักแร้ แล้วกระจายออกไปตามแขนและขาจนทั่วตัว ยกเว้นที่บริเวณใบหน้า ฝ่ามือและฝ่าเท้า ในไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาดจะพบผื่นที่เป็นจุดเลือดออกเล็กๆด้วย (เรียกว่า Petechiae) ซึ่งแทบจะไม่พบในผู้ป่วยที่เป็นไข้รากสาดใหญ่จากหนูและไข้รากสาดใหญ่จากป่าละเมาะ
ต่อมน้ำเหลืองโต อาจโตเฉพาะบางแห่งหรือโตทั่วตัว โดยมักจะคลำพบได้ในผู้ป่วยไข้รากสาดใหญ่จากป่าละเมาะ แทบไม่พบในไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาดและในไข้ราก สาดใหญ่จากหนู
อาการทางสมอง เช่น สับสน สั่น ชัก ซึม เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาด ไข้รากสาดใหญ่ชนิดอื่นพบได้น้อยกว่า
แผลที่ผิวหนัง (Eschar) พบเฉพาะในผู้ป่วยไข้รากสาดใหญ่จากป่าละเมาะ ไม่พบในไข้รากสาดใหญ่ชนิดอื่นๆ แต่จะพบในโรคอื่นๆ ที่เกิดจากแบคทีเรียกลุ่ม Rickettsia ได้ โดยจะเกิดตรงผิวหนังบริเวณที่ตัวไรอ่อนกัด เริ่มแรกจะปรากฏเป็นตุ่มนูนที่ไม่เจ็บ ต่อมาจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและแข็ง ตรงกลางของตุ่มจะเน่ากลายเป็นเนื้อตายสีดำ ดูคล้ายแผลที่ถูกบุหรี่จี้ เรียกว่าแผล Eschar ซึ่งจะตรวจพบได้ประมาณ 60% ตำแหน่งที่มักจะพบได้แก่ รักแร้ ซอกคอ ขาหนีบ
อาการอื่นๆ ได้แก่ อาการกลัวแสง (น้ำตาไหล ตาพร่า เมื่อเจอแสงสวาง) ตาแดง ปวดตา ตับโต ม้ามโต เป็นต้น

2.สาเหตุ
เชื้อชนิด Rickettsia rickettsii ทำให้เกิดโรคไข้พุพองเทือกเขาร็อกกี้
เชื้อชนิด Coxiella burnetii ทำให้เกิดโรคไข้คิว (Q fever) เป็นต้น เชื้อกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในแมลงต่างๆ คือ เหา ไร เห็บ หมัด ซึ่งเป็นพาหะโรคนำเชื้อโรคมาสู่คน

3.การป้องกัน
การป้องกันตนเองจากการเป็นโรคไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาดคือ การป้อง กันตนเองไม่ให้เป็นเหา โดยเฉพาะการเป็นเหาที่ลำตัว ได้แก่ การอาบน้ำ และเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกวัน การไม่ใช้เสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัวอื่นๆร่วมกับผู้อื่น เมื่อพบว่าตนเองเป็นเหาก็ต้องรีบรักษา เป็นต้น
การป้องกันตนเองจากการเป็นไข้รากสาดใหญ่จากหนู คือการป้องกันการถูกหมัดจากหนูและแมวกัด ได้แก่ การกำจัดหมัดให้แมวหรือหนูพันธุ์ที่เลี้ยงไว้อย่างสม่ำเสมอ ส่วนหนูบ้านที่ไม่ได้เลี้ยงไว้ ก็พยายามกำจัดให้หมดไป รวมทั้งการเก็บอาหารที่หนูจะมากินให้มิดชิด กำจัดขยะให้ถูกวิธี
การป้องกันตนเองจากการเป็นไข้รากสาดใหญ่จากป่าละเมาะ คือ การป้องกันการถูกไรกัด ได้แก่ การใส่เสื้อผ้าแขนขายาวให้มิดชิด เมื่อจะต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับพุ่มไม้หรือต้นไม้เตี้ยๆ หรือเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติต่างๆที่มีต้นไม้ พุ่มไม้เตี้ย ๆ และหากจะนั่งหรือนอนอยู่กับต้นไม้ควรทายากันแมลง เป็นต้น

ประเทศอินโดนีเซีย
โรคโปลิโอ


1.อาการ โรคโปลิโอมีระยะฟักตัว ของโรค คือตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการ ประมาณ 3-6 วัน ทั้งนี้แบ่งผู้ป่วยตามอาการออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
ไม่ปรากฏอาการใดๆ ผู้ที่ติดเชื้อประมาณ 90-95% จะอยู่ในกลุ่มนี้
กลุ่มมีอาการเพียงเล็กน้อย (Abortive poliomyelitis) ประมาณ 5-10% ของผู้ที่ติดเชื้อจะปรากฏอาการที่ไม่จำเพาะ ได้แก่ มีไข้ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง เมื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ ปวดศีรษะ โดยเป็นอยู่ประมาณ 3-5 วัน แล้วจะหายเป็นปกติ
กลุ่มมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Nonparalytic poliomyelitis) พบได้เพียง 1% ของผู้ที่ติดเชื้อ โดยจะมีอาการ ปวดศีรษะรุนแรง ปวดต้นคอ คอแข็ง และอาจมีอาการปวดหลัง ในผู้ป่วยบางคนโดยเฉพาะในเด็ก จะมีอาการเหมือนผู้ ป่วย Abortive poliomyelitis นำมาก่อนเกิดอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ ผู้ ป่วยในกลุ่มนี้จะหายเป็นปกติด้วยเช่นกัน
กลุ่มมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Paralytic poliomyelitis) พบผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้น้อยมาก โดยเริ่มต้นผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนผู้ป่วยกลุ่ม Nonparalytic poliomyelitis หลังจากนั้นเป็นเวลาหลายวัน จะเริ่มมีอาการปวดกล้ามเนื้อต่างๆทั่วร่างกายอย่างรุนแรง และตามมาด้วยอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือเกิดขึ้นแบบฉับพลันทันที ในผู้ป่วยบางราย อาการของ Nonparalytic poliomyelitis จะหายสนิทก่อน หลังจากนั้น 1-2 วัน อาการไข้ก็จะกลับมาอีก และตามด้วยอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ทั้งนี้กล้ามเนื้อที่เกิดอาการอ่อนแรง จะเป็นแบบข้างซ้ายและขวาไม่สม มาตรกัน โดยกล้ามเนื้อที่พบเกิดอาการบ่อยที่สุดคือ กล้ามเนื้อที่ขา แต่ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อของร่างกายส่วนไหนก็สามารถเกิดอาการขึ้นได้ทั้งนั้น เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถทำลายเซลล์ประสาทที่มีหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อเหล่านั้นได้ในหลายๆตำแหน่ง เช่น อาจทำให้มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะไม่ออก หากกล้ามเนื้อของลำไส้ใหญ่อ่อนแรง ผู้ ป่วยก็จะท้องผูก หรือถ้ากล้ามเนื้อเกี่ยวกับการหายใจมีการอ่อนแรง ผู้ป่วยก็จะมีอาการหายใจลำบาก ในกรณีที่ไวรัสไปทำลายเซลล์ประสาทสั่งการบริเวณก้านสมอง (ควบคุมเกี่ยวกับการกลืนอาหาร การพูด การหายใจ และการไหลเวียนเลือด) ผู้ป่วยจะมีอาการกลืนลำบาก พูดไม่ชัด หรือในรายที่รุนแรงอาจทำให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนของเลือด ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการของระบบการไหลเวียนเลือดล้มเหลวได้ เช่น ภาวะช็อก
อนึ่ง ผู้ป่วยไม่ว่าจะมีอาการอยู่ในกลุ่มไหน เมื่อหายจากโรคแล้ว จะมีภูมิ คุ้มกันต่อเชื้อชนิดย่อย (Subtype) ที่ทำให้เกิดโรคไปตลอดชีวิต แต่ยังมีโอกาสติดเชื้อชนิดย่อยอื่นๆของเชื้อโปลิโอได้อีก

2.สาเหตุ
โรคโปลิโอเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ Poliovirus ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิดย่อย (3 serotypes) ไวรัสโปลิโอเป็นไวรัสที่อยู่ในกลุ่ม Enterovirus ซึ่งเป็นไวรัสที่สามารถแบ่งตัวเจริญเติบโตอยู่ในลำไส้ และก่อโรคได้หลายโรค ตัวอย่างของไวรัสอื่นๆในกลุ่มนี้ เช่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรค มือ-เท้า- ปาก และไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น
เนื่องจากไวรัสนี้เจริญเติบโตอยู่ในลำไส้ของผู้ป่วย เชื้อจึงถูกขับออกจากร่างกายมากับอุจจาระ และแพร่สู่ผู้อื่นผ่านการกินอาหาร และดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ป่วยนั่นเอง ซึ่งเกิดจากการขับถ่ายที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และการไม่ล้างมือก่อนการหยิบจับอาหาร โรคนี้จึงมักพบในประเทศด้อยพัฒนา และกำลังพัฒนา ที่ขาดการดูแลเรื่องสุขอนามัยที่ดี
การติดเชื้อโปลิโอมักพบในวัยเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสติดเชื้อเท่าๆกั

3.การป้องกัน
โรคนี้มีวัคซีนสำหรับป้องกัน วัคซีนที่ใช้อยู่ในประเทศไทยมีทั้งในรูปแบบฉีด และรูปแบบรับประทาน


ที่มา



blog.eduzones.com/wigi/108530

www.nopparat.go.th/nc/data/disease_aec.pdf