วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

คือ ภาวการณ์ไม่สมดุลของฮอร์โมนที่ชื่อว่า “อินซูลิน” ซึ่งมีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ เพื่อเผาผลาญให้เกิด
เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ว่า ไม่สมดุล คือ มีน้อยไม่พอกับความต้องการ หรือมีไม่น้อยแต่ไม่สามารถออกฤทธิ์ต่อผนังเซลล์ได้เต็มที่ ผลก็ออกมาเหมือนกับว่ามีอินซูลินน้อย คือพาน้ำตาลเข้าไปในเซลล์ไม่ได้ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติซึ่งเป็นภาวะที่เป็นพิษกับเนื้อเยื่อทั่วไปในร่างกาย
คนเป็นเบาหวานโดยทั่วไป มักละเลยเรื่องของการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย โดยคิดว่าเมื่อรับประทานยาแล้วก็คงหายจากโรคเหมือนโรคทั่วไปซึ่งเป็นความเข้าใจผิดโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาดการใช้ยาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้ต้องรู้จักรับประทาน
อาหารให้ถูกสัดส่วนกับความต้องการของร่างกายด้วย
         


ประเภทของ โรคเบาหวาน
         โรคเบาหวาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้มีอาการ สาเหตุ ความรุนแรง และการรักษาต่างกัน ได้แก่

        1. โรคเบาหวาน ชนิดพึ่งอินซูลิน (Insulin-dependent diabetes) เป็นชนิดที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงและอันตรายสูง มักพบในเด็กและคนอายุต่ำกว่า 25 ปี แต่ก็อาจพบในคนสูงอายุได้บ้าง ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้จะสร้างอินซูลินไม่ได้เลยหรือได้น้อยมาก เชื่อว่าร่างกายมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อต้านตับอ่อนของตัวเอง จนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ดังที่เรียกว่า "โรคภูมิแพ้ต่อตัวเอง" (autoimmune) ทั้งนี้ เป็นผลมาจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ร่วมกับการติดเชื้อหรือการได้รับสารพิษจากภายนอก

        ดังนั้น ผู้ป่วย โรคเบาหวาน จึงจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเข้าทดแทนในร่างกายทุกวัน จึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ มิเช่นนั้น ร่างกายจะเผาผลาญไขมันจนทำให้ผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว และถ้า
        ดังนั้น ผู้ป่วย โรคเบาหวาน จึงจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเข้าทดแทนในร่างกายทุกวัน จึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ มิเช่นนั้น ร่างกายจะเผาผลาญไขมันจนทำให้ผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว และถ้า         ดังนั้น ผู้ป่วย โรคเบาหวาน จึงจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเข้าทดแทนในร่างกายทุกวัน จึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ มิเช่นนั้น ร่างกายจะเผาผลาญไขมันจนทำให้ผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นุรนแรง จะมีการคั่งของสารคีโตน (Ketones)ของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน ซึ่งสารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาททำให้ผู้ป่วยหมดสติและทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว เรียกว่า "ภาวะคั่งสารคีโตน" หรือ "คีโตซิส"(Ketosis)
2. โรคเบาหวาน ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (Non-insulin dependent diabetes)
เป็นเบาหวานชนิดที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ มีความุรนแรงน้อย มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็กหรือวัยหนุ่มสาวได้บ้าง โดยตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้ยังสามารถสร้างอินซูลินได้ แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้มีน้ำตาลที่เหลือใช้กลายเป็นเบาหวานได้ บางครั้งถ้าระดับน้ำตาลสูงมาก ๆ ก็อาจต้องใช้อินซูลินฉีดเป็นครั้งคราว แต่ไม่ต้องใช้อินซูลินตลอดไป และผู้ป่วยมักไม่เกิดภาวะคีโตซิส เหมือนกับชนิดพึ่งอินซูลิน





อาการ โรคเบาหวาน 

         ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อย (และออกครั้งละมากๆ ) กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อย หิวบ่อย หรือกินข้าวจุ อ่อนเพลีย บางคนอาจสังเกตว่าปัสสาวะมีมดขึ้น

         หากเป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน อาการต่างๆ มักเกิดขึ้นรวดเร็วร่วมกับน้ำหนักตัวที่ลดลงฮวบฮาบ ในช่วงระยะเวลาเพียงสัปดาห์หรือหนึ่งเดือน โดยในเด็กบางคนอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอนตอนกลางคืน

         สำหรับคนที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อาการมักค่อยเป็นค่อยไป แบบเรื้อรัง ผู้ป่วยมักมีรูปร่างอ้วน หญิงบางคนอาจมาหาหมอด้วยอาการคันตามช่องคลอดหรือตกขาว ในรายที่เป็นไม่มาก อาจไม่มีอาการผิดปกติอย่างชัดเจน และตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะหรือตรวจเลือดขณะที่ไปหาหมอด้วยโรคอื่น

         บางคนมีอาการคันตามตัว เป็นฝีบ่อย หรือเป็นแผลเรื้อรังรักษาหายยาก

         ผู้หญิงบางคนอาจคลอดทารกที่มีน้ำหนักมากกว่าธรรมดา หรืออาจเป็นโรคครรภ์เป็นพิษ หรือคลอดทารกที่เสียชีวิตแล้วโดยไม่ทราบสาเหตุ

         ในรายที่เป็นมานานโดยไม่ได้รับการรักษา อาจมาหาหมอด้วยภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ตามัวลงทุกที หรือต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อยๆ ความดันโลหิตสูง เป็นต้น


อาการแทรกซ้อนของผู้ป่วย โรคเบาหวาน มีอะไรบ้าง
อาการแทรกซ้อนต่างๆมักจะเกิดเมื่อเป็นเบาหวานมานานโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจังหรือปล่อยปละละเลย ทั้งนี้โรคแทรกซ้อนที่อาจพบได้ เช่น

1. ตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตา (retina) เสื่อม หรือเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา (vitreous hemorrhage) 
      ทำให้มีอาการตามัวลงเรื่อยๆ หรือมองเห็นจุดดำลอยไปลอยมา และอาจทำให้ตาบอดในที่สุด


2. ระบบประสาท ผู้ป่วยอาจเป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาหรือปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ซึ่งอาจทำให้มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่าย (อาจลุกลามจนเท้าเน่า) บางคนอาจมีอาการวิงเวียนเนื่องจากมีภาวะความดันตกในท่ายืน บางคนอาจไม่มีความรู้สึกทางเพศ ท้องเดินตอนกลางคืนบ่อย หรือกระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน (กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือไม่มีแรงเบ่งปัสสาวะ)

3. ไต มักจะเสื่อม "จนเกิดภาวะไตวาย" มีอาการ บวม ซีด ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วยเบาหวานที่พบได้ค่อนข้างบ่อย


4.ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง , อัมพาต , โรคหัวใจขาดเลือด ถ้าหลอดเลือดที่เท้าตีบแข็ง เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอ อาจทำให้เท้าเย็นเป็นตะคริว หรือปวดขณะเดินมากๆ หรืออาจทำให้เป็นแผลหายยาก หรือเท้าเน่า (ซึ่งอาจเกิดร่วมกับการติดเชื้อ)
5.เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย 
       เนื่องจากภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น วัณโรคปอด, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, กรวยไตอักเสบ, ช่องคลอดอักเสบ, เป็นฝีพุพองบ่อย, เท้าเป็นแผลซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า (อาจต้องตัดนิ้วหรือตัดขา) เป็นต้น
6. ภาวะคีโตซิส (Ketosis) 
       พบเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ที่ขาดการฉีดอินซูลินนานๆ ร่างกายจะมีการคั่งของสารคีโตน ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญไขมัน ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน กระหายน้ำอย่างมาก หายใจหอบลึก และลมหายใจมีกลิ่นหอม มีไข้ กระวนกระวาย มีภาวะขาดน้ำรุนแรง (ตาโบ๋ หนังเหี่ยว ความดันต่ำ ชีพจรเบาเร็ว) อาจมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน ผู้ป่วยจะซึมลงเรื่อยๆ จนกระทั่งหมดสติ หากรักษาไม่ทันอาจตายได้

ข้อแนะนำในการดูแลตัวเองของผู้ป่วย โรคเบาหวาน

1.เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือตลอดชีวิต
ซึ่งหากได้รับการรักษาอย่างจริงจัง อาจมีชีวิตเหมือนคนปกติได้ แต่ถ้ารักษาไม่จริงจังก็อาจมีอันตรายจากโรคแทรกซ้อนได้มาก 

2. ควบคุมอาหาร การลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน) 
และการออกกำลังกาย มีความสำคัญมาก ในรายที่เป็นไม่มาก ถ้าปฎิบัติในเรื่องเหล่านี้ได้ดี อาจหายจากเบาหวานได้โดยไม่ต้องพึ่งยา ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรอาหารที่มีผลต่อโรค ดังต่อไปนี้ 

- ลดการกินน้ำตาล และของหวานทุกชนิด รวมทั้งผลไม้หวานและน้ำผึ้ง และควรเลิกกินน้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมหวาน เหล้าเบียร์ 

- ลดการกินอาหารพวกแป้ง เช่น ข้าว ข้าวเหนียว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ วุ้นเส้น เผือก มันเป็นต้น

- ลดอาการพวกไขมัน เช่น ของทอด ของมัน ขาหมู หมูสามชั้น อาหารหรือขนมที่ใส่กะทิ หันไปกินอาหารพวกโปรตีน เนื้อแดง ไข่ นม ถั่วต่างๆ รวมทั้งเพิ่มผักและผลไม้ที่ไม่หวานจัดให้มากขึ้น 

- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรหักโหม เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน เล่นโยคะ กายบริหาร เป็นต้น 

3. เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด 
 มิเช่นนั้น อาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคแทรกซ้อนต่างๆ 



 4. หมั่นดูแลรักษาเท้าเป็นพิเศษ 
ระวังอย่าให้เกิดบาดแผลหรือการอักเสบเพราะอาจลุกลามจนกลายเป็นแผลเน่าจนต้องตัดนิ้วหรือขาทิ้งควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ เช็ดให้แห้ง โดยเฉพาะตรงซอกเท้า อย่าถูแรงๆ เวลาตัดเล็บเท้าควรตัดออกตรงๆอย่าตัดโค้งหรือตัดถูกเนื้อ อย่าเดินเท้าเปล่าระวังเหยียบถูกของมีคม หนาม หรือของร้อน อย่าสวมรองเท้าคับไป หรือใส่ถุงเท้ารัดแน่นเกินไป ถ้าเป็นหูดหรือตาปลาที่เท้า ควรให้แพทย์รักษา อย่าแกะหรือตัดออกเอง ถ้ามีตุ่มพอง มีบาดแผล หรือการอักเสบที่เท้าควรรีบไปให้แพทย์รักษา 


5.ผู้ป่วยที่กินยาหรือฉีดยารักษาเบาหวานอยู่ 
บางครั้งอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือมีอาการใจหวิว ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย เหงื่อออก ตัวเย็นเหมือนเวลาหิวข้าว ถ้าเป็นมากๆ อาจเป็นลม หมดสติ หรือชักได้ ดังนั้น จึงต้องระวังดูอาการดังกล่าว และควรพกน้ำตาลหรือของหวานติดตัวประจำ ถ้าเริ่มรู้สึกมีอาการดังกล่าวให้ผู้ป่วยรีบกินน้ำตาลหรือของหวาน จะช่วยให้หาย  6.หมั่นตรวจปัสสาวะด้วยตัวเอง 
และตรวจเลือดที่โรงพยาบาลเป็นประจำเพราะเป็นวิธีที่บอกผลการ
รักษาได้แน่นอนกว่าการสังเกตจากอาการเพียงอย่างเดียว
7.อย่าซื้อยาชุดกินเอง 
เพราะยาบางอย่างอาจเพิ่มน้ำตาลในเลือดได้แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาเองต้องแน่ใจว่ายานั้นไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด 



8.ควรมีบัตรประจำตัว(หรือกระดาษแข็งแผ่นเล็กๆ) ที่เขียนข้อความว่า "ข้าพเจ้าเป็นโรคเบาหวาน" 
พร้อมกับบอกชื่อยาที่รักษาพกติดกระเป๋าไว้ หากบังเอิญเป็นลมหมดสติ ทางโรงพยาบาลจะได้ทราบประวัติการเจ็บป่วยและให้การรักษาได้ทันท่วงที
9.ป้องกันโรคนี้ด้วยการรู้จักกินอาหาร 

ลดของหวานๆ อย่าปล่อยตัวให้อ้วน หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และทำจิตใจให้ร่าเริงเบิกบาน อย่าให้เครียดหรือวิตกกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นเบาหวาน ควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และควรตรวจเช็คปัสสาวะหรือเลือดเป็นครั้งคราว เพราะหากพบเป็นเบาหวานในระยะเริ่มแรก จะสามารถควบคุมอาการของโรคได้












อาการเบื้องต้นของ เบาหวาน
 -ผู้เป็นโรคเบาหวานจะมีอาการเบื้องต้นคือ
 - ปวดปัสสาวะบ่อย ครั้งขึ้น เนื่องจากในกระแสเลือดและอวัยวะต่างๆมีน้ำตาลค้างอยู่มาก                ไตจึงทำการกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน สังเกตุจากการที่มีมดมาตอม
            ปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของการเรียก เบาหวาน
     - ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น
     - กระหายน้ำ และดื่มน้ำในปริมาณมากๆต่อครั้ง


     - อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง


- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน อันเนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปสร้างพลังงานได้เต็มที่จึงต้องนำไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้ทดแทน
- ติดเชื้อบ่อยกว่าปรกติ เช่นติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร สังเกตุได้จากเมื่อเป็นแผลแล้วแผลจะหายยาก
- สายตาพร่ามองไม่ชัดเจน
- อาการชาไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องมาจากเบาหวานจะทำลายเส้นประสาทให้เสื่อมสมรรถภาพลงความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกจึงถดถอยลง
- อาจจะมีอาการของโรคหัวใจ และโรคไต
- โดย "เบาหวานชนิดที่ 2 อาจจะมีอาการเหล่านี้บางอย่าง หรืออาจไม่มีอาการเหล่านี้เลย"


อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทาน คือ

• ข้าวกล้อง มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนผ่านการขัดสีน้อย• วุ้นเส้น ทำจากถั่ว สามารถบริโภคได้ประจำตามปริมาณที่กำหนด ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยววุ้นเส้น , แกงจืด, ยำวุ้นเส้น เป็นต้น
• ไขมันไม่อิ่มตัว 
เช่น น้ำมันรำข้าว , น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันดอกทานตะวัน, น้ำมันมะกอก เป็นต้น
• ผัก ผลไม้ 
การรับประทานผักให้หลากหลายทุกวันอย่างน้อย 2 มื้อ ต่อวัน จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้นแน่นอน การผัดผักให้อร่อยแต่ใช้
น้ำมันน้อย ๆ ทำได้โดยใช้น้ำต้มกระดูกแทนปริมาณน้ำมันที่ต้องใช้บางส่วน เคล็ดลับของการเตรียมน้ำต้มกระดูก อยู่ที่ซี่โครงไก่ ที่ตัดมัน
และไส้ออกล้างให้สะอาด ต้มในน้ำเปล่า ใช้ซี่โครงไก่ 8 ขีด ต่อน้ำ 3 ลิตร ใช้ไฟอ่อน เคี่ยวนาน 1- 1.5 ช.ม. เพื่อให้ได้น้ำที่ใสมีรสหวาน
หอม สำหรับใช้ผัดหรือต้มอาหารต่าง ๆ


ผักที่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทาน
พื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด คือ
          • มะระขี้นก หั่นชิ้นเล็กแล้วตากแดดให้แห้ง นำมาชงกับน้ำเหมือนชงชา
             • ฟักทอง ใช้เมล็ดฟักทองต้มน้ำดื่ม ครั้งละ 300 เมล็ด จะช่วยให้อาการเบาหวานดีขึ้น                         นอกจากนี้ผลฟักทองและน้ำฟักทอง ก็ช่วยลดอาหารเบาหวานได้
                    • แตงวา การคั้นน้ำแตงกวาพร้อมเมล็ดจะดีต่อสุขภาพเมื่อดื่มขณะท้องว่าง
          ประเภทน้ำนม
           
• ควรเลือกดื่มชนิดจืด ไม่เติมน้ำตาลหรือไม่ ปรับปรุงแต่งรส

                   • นมพร่องมันเนย คือมีไขมันประมาณ 1.9% รับประทานได้
            • 
นมเปรี้ยว ควรเลือกชนิดที่ไม่ปรุงแต่งรส
              
  • นมข้นหวาน ไม่ควรใช้นมชนิดนี้
           
     • นมถั่วเหลือง ชนิดหวานไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
                       ควรทำเองโดยใช้แป้งถั่วเหลืองผสมกับน้ำตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้
                       ที่สลากหน้าถุง โดยใช้แช่น้ำให้พองและนำมาปั่นกับน้ำ ในอัตราส่วน ถั่วเหลืองดิบ 1                              ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน แล้วคั้นเอาแต่น้ำไปต้มให้เดือด10 นาที ก็ใช้ได้
       
           • น้ำเต้าหู้ ผู้ป่วยเบาหวานดื่มได้ แต่ต้องไม่เติมน้ำตาล





เมนูอาหารที่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทาน   เช่น 
          1. แกงเลียงกุ้งสด
          2. ผัดสะตอกะปิใส่เต้าหู้
          3. ผัดถั่วงอกใส่เต้าหู้
          4. ยำมะเขือเผา
          5. ส้มตำมะละกอ
          6. น้ำพริกกะปิปลาทู


กลุ่มที่รับประทานได้..แต่จำกัดจำนวน
          • อาหารพวกแป้ง ข้าว เผือก มัน ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง มักกะโรนี
          • ลดอาหารไขมัน เช่น ขาหมู ข้าวมันไก่ หมูสามชั้น หรือ อาหารทอดมันมากๆ ไขมัน มาก ๆ
          • ตลอดจนไขมันจากพืชบางชนิด เช่น กะทิ น้ำมันปาล์ม ควรใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมัน ข้าวโพด น้ำมันมะกอก
          • อาหารสำเร็จรูป หรืออาหารพิเศษสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เช่น น้ำตาลเทียม น้ำตาล จากผลไม้
          • ผักประเภทที่มีแป้งมาก เช่น ฟักทอง กระเจี๊ยบ หัวปลี แค
รอท สะเดา ถั่วลันเตา หอม หัวใหญ่ ผลไม้บางชนิด เช่น ฝรั่ง กล้วย
เงาะ มะละกอ
          • อาหารจากโปรตีนประเภทเนื้อสัตว์ หรือโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว เต้าหู้ ให้รับประทาน ปกติ หลีกเลี่ยงเนื้อติดมัน ไก่ติดหนัง
          • นมจืดพร่องไขมัน ควรหลีกเลี่ยงนมเปรี้ยว นมถั่วเหลือง


อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยง


          • น้ำตาลทุกชนิดรวมทั้งน้ำผึ้ง น้ำตาลจากผลไม้

          • ขนมหวานและขนมเชื่อมต่าง ๆ เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมชั้น สังขยา ลอดช่อง ฯลฯ

          • ผลไม้กวน เช่น มะม่วงกวน ทุเรียนกวน สับปะรดกวน ฯลฯ

          • น้ำหวานต่าง ๆ น้ำผลไม้ ยกเว้น น้ำมะเขือเทศ นมรสหวานรวมทั้งน้ำอัดลมและ

          • เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น ชา กาแฟ (ถ้าดื่มกาแฟควรดื่มกาแฟดำไม่ควรใส่น้ำตาล นมข้นหวาน หรือครีมเทียม แต่สามารถใช้

น้ำตาลเทียมได้บ้าง)
          • ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน องุ่น ลำใย มะม่วงสุก ขนุน ละมุด น้อยหน่า ลิ้นจี่ อ้อย สับปะรด ผลไม้แช่อิ่ม หรือ เชื่อมน้ำตาล
          • ของขบเคี้ยวทอดกรอบ และอาหารชุบแป้งทอดต่างๆ เช่น ปาท่องโก๋ กล้วย แขก ข้าวเม่าทอด



อ้างอิง

https://www.google.com/webhp?client=aff-maxthon-newtab&channel=t5&gws_rd=ssl#affdom=maxthon.com&channel=t5&q=%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99

สมาชิก ม.3/4

เด็กหญิง ธนพร มูลลากูล เลขที่ 15
เด็กหญิง รินรดา ท้าววงษา เลขที่ 16
เด็กหญิง ณิชา หงศ์พันธ์กุล เลขที่ 17
เด็กหญิง อัจฉริยา สุธีรภาพ เลขที่ 18
เด็กหญิง สิตา รัชฏาธนาโชค เลขที่ 19
เด็กหญิง พลอยเพชรซ้อน พยกุล เลขที่ 20
เด็กหญิง กมลชนก ธานี เลขที่ 21








1 ความคิดเห็น: