วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรคหวัด

รคไข้หวัด   

 เกิดจากคอหอยส่วนจมูกอักเสบเฉียบพลัน หรือโรคเยื่อจมูกและลำคอ
อักเสบเฉียบพลัน (Acute nasopharyngitis) เรียกโดยทั่วไปว่า 
โรคหวัด หรือ ไข้หวัด(Common cold) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในทางเดิน
หายใจส่วนบนที่กระทบต่อจมูกเป็นหลัก อาการของโรคมีทั้งไอ 
เจ็บคอน้ำมูกไหล และไข้ซึ่งมักหายไปเองในเจ็ดถึงสิบวัน แต่บางอาการ
อาจอยู่ได้นานถึงสามสัปดาห์ ไวรัสกว่า 200 ชนิดเป็นสาเหตุของ
โรคหวัด โดยไรโนไวรัสเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดการติดเชื้อทางเดินหาย
ใจส่วนบนจำแนกได้หลวม ๆตามบริเวณที่ได้รับผลจากไวรัส โดย
โรคหวัดกระทบต่อจมูก คอหอย (คอหอยอักเสบ) และโพรงจมูก 
(โพรงจมูกอักเสบ) เป็นหลัก 
ส่วนใหญ่อาการเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อ
มากกว่าการทำลายเนื้อเยื่อจากไวรัสเอง การล้างมือเป็นวิธีการป้องกัน
หลัก และหลักฐานบางชิ้นสนับสนุนประสิทธิภาพของการสวมหน้ากาก

อนามัย
โรคหวัดไม่มีวิธีรักษาจำเพาะ แต่สามารถรักษาอาการได้ โรคหวัด
เป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่พบบ่อยที่สุดในมนุษย์ และอยู่คู่กับมนุษยชาติ
มาแต่โบราณ ผู้ใหญ่ติดโรคหวัดโดยเฉลี่ยสองถึงสามครั้งต่อปี ขณะที่
เด็กโดยเฉลี่ยติดโรคหวัดระหว่างหกถึงสิบสองครั้งต่อปี
  อาการ    
อาการทั่วไปของโรคหวัดมีทั้งไอ น้ำมูกไหล คัดจมูก และเจ็บคอ 
บางครั้งอาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ความล้า ปวดศีรษะและสูญเสีย
ความอยากอาหาร ในผู้ป่วยโรคหวัด 40% พบอาการเจ็บคอ และ 50%
พบอาการไอ ขณะที่อาการปวดกล้ามเนื้อพบในผู้ป่วยราวครึ่งหนึ่งผู้
ป่วยในวัยผู้ใหญ่มักไม่พบอาการไข้ แต่พบทั่วไปในทารกและเด็ก
อาการไอมักไม่รุนแรงนักเมื่อเทียบกับไข้หวัดใหญ่ ขณะที่อาการไอและ
ไข้ในผู้ใหญ่มีแนวโน้มบ่งชี้ไข้หวัดใหญ่มากกว่า แต่ก็มีความคล้ายคลึง
กันอย่างมากระหว่างโรคหวัดกับไข้หวัดใหญ่ ไวรัสหลายชนิดที่เป็น
สาเหตุของโรคหวัดยังอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อไร้อาการ สีของ
เสมหะอาจมีได้ตั้งแต่ไม่มีสีไปจนถึงเหลือง เขียว และไม่บ่งชี้ถึงประเภท
ของตัวที่กระทำให้เกิดการติดเชื้อ
การลุกลาม

   ตามปกติโรคหวัดเริ่มต้นจากความล้า รู้สึกหนาวสะท้าน จามและปวด
ศีรษะ ตามด้วยอาการน้ำมูกไหลและไอหลายวันอาการอาจเริ่มขึ้นใน16
ชั่วโมงนับแต่การสัมผัส และมักมีอาการรุนแรงที่สุดสองถึงสี่วันหลังเริ่มมีอาการ โดยปกติอาการจะหายไปเองในเจ็ดถึงสิบวัน แต่
บางรายสามารถมีอาการได้นานถึงสามสัปดาห์ 35-40% ของผู้ป่วยเด็ก
มีอาการไอนานกว่า 10 วัน และ 10% ของผู้ป่วยเด็กมีอาการไอนานกว่า 25 วัน

สาเหตุ

ไวรัส
    โรคหวัดเป็นการติดเชื้อไวรัสของทางเดินหายใจส่วนบน ไวรัสที่พบ
มากที่สุด คือ ไรโนไวรัส (30-80%) ซึ่งเป็นพิคอร์นาไวรัสที่มีเซโรไทป์
รู้จักกัน 99 ชนิด ไวรัสชนิดอื่นมีโคโรนาไวรัส (10-15%) 
ฮิวแมนพาราอินฟลูเอ็นซาไวรัส ไวรัสเรสไพราทอรีซินไซเตียล 
อะดีโนไวรัสเอนเทอโรไวรัสและเมตะนิวโมไวรัสบ่อยครั้งที่ไวรัสมากกว่า
หนึ่งชนิดก่อให้เกิดโรครวมทั้งสิ้นแล้ว มีไวรัสกว่า 200 ชนิดที่เกี่ยวข้อง
กับโรคหวัด

การแพร่เชื้อ
    ไวรัสโรคหวัดโดยปกติแพร่เชื้อผ่านละอองจากอากาศ การสัมผัสโดย
ตรงกับสิ่งคัดหลั่งทางจมูกที่ติดเชื้อ หรือวัตถุที่เป็นพาหะนำเชื้อ (fomite)
แต่ยังไม่มีการระบุว่า ทางใดมีความสำคัญที่สุด แต่การสัมผัสมือต่อมือ
และมือต่อพื้นต่อมือเหมือนจะสำคัญกว่าการติดต่อผ่านละอองลอยไวรัส
อาจมีชีวิตอยู่รอดเป็นเวลานาน มนุษย์ใช้มือหยิบจับไวรัสแล้วนำเข้าสู่
ดวงตาหรือจมูกซึ่งเป็นที่เกิดการติดเชื้อ การแพร่เชื้อพบทั่วไปในสถาน
รับเลี้ยงเด็กและที่โรงเรียนเนื่องจากความใกล้ชิดของเด็กจำนวนมากซึ่ง
มีภูมิคุ้มกันต่ำและมักมีอนามัยเลว จากนั้น สมาชิกครอบครัวคนอื่นเป็น
ผู้นำเชื้อเหล่านี้กลับมาบ้าน ไม่มีหลักฐานว่า อากาศที่ไหลเวียนอยู่ใน
เที่ยวบินพาณิชย์เป็นวิธีการแพร่เชื้อ อย่างไรก็ดี บุคคลที่นั่งใกล้ชิดดู
เหมือนจะมีความเสี่ยงสูงกว่าโรคหวัดที่เกิดจากไรโนไวรัสติดเชื้อได้มาก
ที่สุดระหว่างสามวันแรกของอาการ แต่จะติดเชื้อน้อยลงมากหลังจากนั้น

ลมฟ้าอากาศ
    ทฤษฎีชาวบ้านดั้งเดิมมีว่า โรคหวัดสามารถ "ติด" ได้จากการสัมผัส
อากาศหนาวเป็นเวลานาน เช่น สภาพฝนตกหรือฤดูหนาว จึงเป็นที่มา
ของชื่อโรค cold ในภาษาอังกฤษ บทบาทการเย็นตัวของร่างกายเป็น
ปัจจัยเสี่ยงโรคหวัดนั้นยังถกเถียงกันอยู่ ไวรัสบางชนิดที่เป็นเหตุของ
โรคหวัดมีตามฤดูกาล ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยกว่าในอากาศที่หนาวหรือเปียก
 บางคนเชื่อว่า การติดโรคหวัดเป็นเพราะการอาศัยอยู่ในที่ร่มใกล้กับผู้
ที่ติดเชื้อดังกล่าวเป็นระยะเวลานานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่กลับจาก
โรงเรียนอย่างไรก็ดี โรคหวัดยังอาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงใน
ระบบทางเดินหายในที่ส่งผลให้มีความไวเพิ่มขึ้น ความชื้นที่ต่ำสามารถ
เพิ่มอัตราการแพร่เชื้อไวรัสได้เนื่องจากอากาศแห้งทำให้ละอองไวรัส
ขนาดเล็กกระจายไปไกลขึ้นและอยู่ในอากาศนานขึ้น

อื่น ๆ
    ภูมิคุ้มกันหมู่ที่เกิดจากการติดไวรัสไข้หวัดก่อนหน้านี้มีบทบาทสำคัญ
ในการจำกัดการแพร่ของไวรัส โดยสังเกตจากประชากรที่อายุน้อยมี
อัตราการติดเชื้อทางเดินหายใจสูงกว่าประชากรอายุมาก ภูมิคุ้มกัน
ของร่างกายที่ทำงานไม่ดียังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหวัด การนอนหลับ
ไม่เพียงพอและทุพโภชนาการเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงการติดเชื้อหลัง
สัมผัสไรโนไวรัสที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเชื่อกันว่าเกิดจากผลของมันต่อการทำงาน
ของภูมิคุ้มกัน

การป้องกัน
    มาตรการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสหวัดทางกายภาพดูเป็น
มาตรการป้องกันโรคหวัดที่มีประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียว มาตรการ
เหล่านี้ รวมถึงการล้างมือและสวมหน้ากากอนามัยในสิ่งแวดล้อม
สาธารณสุข มีการใช้เสื้อกาวน์และถุงมือใช้แล้วทิ้งความพยายามอย่าง
การกักกัน เป็นไปไม่ได้เพราะโรคนั้นแพร่ไปทั่วและอาการไม่จำเพาะ
การให้วัคซีนนั้นยากเพราะมีไวรัสหลายชนิดมาเกี่ยวข้องและเปลี่ยน
แปลงอย่างรวดเร็ว การสร้างวัคซีนที่ได้ผลอย่างกว้างขวางจึงยากจะ
เกิดขึ้นการล้างมือเป็นประจำดูมีประสิทธิภาพลดการส่งผ่านไวรัสหวัด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กส่วนการเพิ่มยาต้านไวรัสหรือสารต้าน
แบคทีเรียในการล้างมือปกติจะช่วยให้ผลประโยชน์ในการป้องกันโรค
เพิ่มขึ้นหรือไม่นั้นยังไม่ทราบกัน การสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับ
บุคคลที่ติดเชื้ออาจมีประโยชน์ กระนั้น มีหลักฐานไม่เพียงพอแก่
การรักษาระยะสังคมที่มากขึ้น การเสริมธาตุสังกะสีอาจมีผลช่วยลด
อัตราโรคหวัด การเสริมวิตามินซีเป็นประจำไม่ลดความเสี่ยงหรือ
ความรุนแรงของโรคหวัด แต่อาจลดช่วงเวลาของโรค
การรักษา
1. พักผ่อนให้มากขึ้น อย่าอาบน้ำเย็น ควรดื่มน้ำมากๆ (อาจเป็นน้ำเปล่า
น้ำส้มคั้น น้ำผลไม้ ก็ได้)
2. ถ้าเบื่ออาหารให้กินน้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำข้าวต้ม ทีละน้อย แต่บ่อยๆ
3. กินยาลดไข้ เช่น แอสไพริน หรือพาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด 
(เด็กใช้พาราเซตามอล ชนิดน้ำเชื่อมครั้งละ ครึ่ง-2 ช้อนชาตามอายุ) 
ถ้ายังมีไข้ให้กินซ้ำได้ทุกๆ 4-6 ชั่วโมงถ้ามีอาการชวนสงสัยว่าจะเป็นไข้
เลือดออก อย่ากินยาแอสไพริน ควรใช้ยาพาราเซตามอล แทนการรักษา
เพียง 3 ข้อนี้ ก็เพียงพอสำหรับไข้หวัดและโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสอื่นๆ 
และอาการไข้ควรจะลดลงภายใน 3-4 วัน ส่วนยาอื่นๆ ไม่ค่อยมีความ
จำเป็นในการรักษาไข้หวัด ยาอื่นๆ ได้แก่
4. ยาแก้หวัดแก้ไอ ถ้าเป็นไม่มาก ไม่ต้องกินก็ได้ ถ้าจะใช้ให้เลือกใช้ 
ดังนี้
ในเด็กเล็ก
    ให้ยาแก้ไข้แก้หวัด ชนิดน้ำเชื่อม ในขวดเดียวมีตัวยาผสมกันทั้ง 2
 อย่าง เช่น ยาแก้หวัดแก้ไอคลอริเอต ยาแก้หวัดแก้ไอไพร์ตอน เป็นต้น 
ให้กินครั้งละ ครึ่ง-1 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร เมื่ออาการดีขึ้น
ก็หยุดได้ หรือถ้ากินแล้วกลับมีอาการไอมากขึ้นก็ควรงดเสีย เพราะยานี้
อาจทำให้เสลดในคอเหนียว ขับออกยาก ทำให้ไอมากขึ้นได้
สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่
    ให้กินยาแก้แพ้ได้แก่ คลอร์เฟนิรามีน ครั้งละ ครึ่ง-1 เม็ด วันละ3ครั้ง
 และยาแก้ไอน้ำดำ จิบครั้งละ ครึ่ง-1 ช้อนชาเวลาไอ ถ้ากินแล้วกลับไอ
มากขึ้นควรงดเช่นเดียวกัน
5. ยาปฏิชีวนะ ไม่มีความจำเป็นในการรักษาไข้หวัดแต่อย่างไร เพราะ
ไม่ได้กำจัดเชื้อหวัด (และไวรัสทุกชนิด) แต่อย่างไรก็ตาม ยานี้จะมี
ประโยชน์ต่อเมื่อมีเชื้อแบคทีเรียเข้าไปแทรกซ้อนภายหลัง ซึ่งจะสังเกต
ได้จากน้ำมูกหรือเสมหะที่เคยใสจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว

ดังนั้นถ้าพบว่าเป็นหวัด น้ำมูกใส เสมหะขาวไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ 
แต่ถ้าน้ำมูกหรือเสมหะเหลืองหรือเขียวจึงค่อยให้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ 
เพนวี หรือ อีริโทรมัยซิน วิธีใช้ให้ใช้แบบเดียวกับการรักษาต่อม
ทอนซิลอักเสบดังกล่าวข้างต้น
    เมื่อได้รับการดูแลรักษาอย่างเต็มที่ อาการตัวร้อนควรจะหายเป็น
ปกติ ภายใน 3-4 วัน (อย่างมากไม่เกิน 7 วัน) แต่อาจมีน้ำมูกหรือไอ
ต่อไปอีก 1-2 สัปดาห์ (บางคนอาจไอโครกเป็นเดือน) ถ้าอาการทั่วๆ
 ไปเป็นปกติดี กินได้น้ำหนักไม่ลด ก็ไม่ต้องตกใจ จะค่อยๆ ดีขึ้นได้เอง

    อย่าลืมว่ายาแก้หวัดแก้ไอ อาจทำให้อาการไอเป็นมากขึ้นเพราะ
ทำให้เสลดเหนียวขับออกยาก ดังนั้นถ้ายังไอมากควรงดยาเหล่านี้ 
แล้วหันไปดื่มน้ำอุ่นมากๆ อาจช่วยให้เสลดออกง่ายขึ้น และอาการไอจะ
ค่อยหายไปได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา
ที่มา
th.wikipedia.org/wiki/โรคหวัด

www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/common_cold.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น