วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรคหัวใจ

หัวใจ

 หัวใจคนเรามี 4 ห้อง แบ่งซ้าย - ขวา โดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ 

และแบ่งเป็นห้องบน –ล่างโดยลิ้นหัวใจ ในทุกๆ วัน หัวใจคนเราจะ

เต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 

แกลลอน เปรียบเสมือนการทำงานปกติของ "หัวใจ"


    โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน... 

              คือ อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ที่บ่งชี้ว่าอาจเป็น โรค


    หัวใจ พบบ่อยในคนทั่วไป ที่คิดว่าตัวเองมีสุขภาพดี ทั้งที่ความจริง

    อาจเป็นโรคหัวใจในระยะแรกเริ่ม มีดังนี้


               1. เหนื่อยเวลาออกกําลังกาย เพราะหัวใจทําหน้าที่ในการ

    สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขณะที่เราออกกําลังกาย 

    หัวใจจะทํางานหนักมากขึ้น ปกติเวลาที่เราออกกำลังกายไปถึงระดับ

    หนึ่งจะรู้สึกเหนื่อย แต่ในรายของคนที่มีอาการเริ่มต้นของ โรคหัวใจ 

    แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติอย่างไม่เคย

    เป็นมาก่อน ดังนั้นหากออกกำลังกาย แล้วรู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ 

    อาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ

               2. เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักพบบ่อยในคนที่เป็นโรค

    หลอดเลือดหัวใจตีบ และไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการดัง

    กล่าวจะมีลักษณะเฉพาะคือ รู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด และแน่นบริเวณ

    กลางหน้าอก เหมือนมีของหนักทับอยู่ หรือรัดไว้ให้ขยายตัวเวลา

    หายใจ โดยมากอาการนี้ จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก 

    เช่น ระหว่างการออกกำลังกาย หรือใช้แรงมากๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นอีก

    หนึ่งสัญญาณเตือนว่า อาจเป็น โรคหัวใจ



               3. ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีด

    เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างของร่างกายได้อย่างเพียงพอ โดยผู้ป่วยจะเริ่ม

    มีอาการเหนื่อย ทั้งที่ออกกำลังกายเพียงนิดหน่อย หรือเหนื่อยทั้งที่นั่ง

    อยู่เฉยๆ ในกรณีที่เป็นมาก อาจทำให้ไม่สามารถนอนราบได้เหมือน

    ปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก 

    นอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึกอีกด้วย 

    อาการภาวะหัวใจล้มเหลวนี้ หากไม่รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และไม่ได้

    รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้


               4. ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปกติหัวใจของเราจะเต้น

    ด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอประมาณ 60 -100 ครั้ง/นาที แต่สำหรับคนที่มี

    อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจขยับไปถึง150 -250 ครั้ง/นาที ซึ่ง

    อัตราการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอนี้ จะทำให้เหนื่อยง่าย ใจสั่น 

    หายใจไม่ทัน

               5. เป็นลมหมดสติ คืออีกหนึ่งอาการที่เตือนว่าคุณอาจเป็น 

    โรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ซึ่งมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นลม

    หมดสติสูง เนื่องจากจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะ

    เซลล์ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ ส่งผลให้หัวใจ

    เต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนทำให้เป็นลมไป

    ชั่วคราวได้ ทั้งนี้ การเป็นลมหมดสติ มักจะเกิดในท่ายืนมากกว่านั่ง 

    ทำให้ขณะล้มลงศีรษะมีโอกาสฟาดพื้น และเกิดการกระทบกระเทือน

    ต่อสมองได้มากกว่า ดังนั้น ใครที่เป็นลมบ่อยๆ ควรรีบไปพบแพทย์ 

    เพราะอาจเป็น โรคหัวใจ ได้

               6. หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ในกรณีนี้มักเกิดจากความผิด

    ปกติของเซลล์หัวใจโดยตรง และมักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของ 

    โรคหัวใจ มาก่อนล่วงหน้า ซึ่งหากมีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน 

    ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็ว อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

     โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่สังเกตได้จากร่างกาย... 

              นอกจากความผิดปกติชนิดเฉียบพลันแล้ว อาการบ่งชี้ที่สังเกต

    ได้จากร่างกายของเราเอง ก็เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เตือนให้รู้ว่า 

    คุณอาจเป็น โรคหัวใจ และควรไปพบแพทย์โดยด่วนได้เช่นกัน 

    เป็นต้นว่า...



              1. ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อกดดูแล้วมีรอย

    บุ๋มตามนิ้วที่กดลงไป ซึ่งหากเกิดขึ้นกับใคร ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อ

    ตรวจเช็คโดยด่วน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า เวลานี้คุณ

    อาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวโดยที่ไม่รู้ตัว 
               
               2. ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ 


    อาการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับ

    ห้องซ้ายมีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมของเลือดแดง

    กับเลือดดํา และทําให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือดมีปริมาณน้อยลง

      

              การไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะ

    ทำให้เราสามารถคาดคะเนความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ ได้ เช่น 

    ตรวจเลือดแล้วพบว่าเป็นเบาหวาน หรือมีไขมันในเลือดสูง ก็อาจ

    สันนิษฐานได้ว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่น

    กัน หรือเอ็กซเรย์แล้วพบว่า ขนาดของหัวใจโตกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิด

    จากหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว และกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อน

    กำลังลง ทำให้ห้องต่างๆ ของหัวใจขยายขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ในกรณี

    ที่ตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูง ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์

    โดยด่วน

     ป้องกัน โรคหัวใจ อย่างไรดี... 
         
              ข้อมูลที่ได้บอกไปข้างต้น เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า 


    เรามีอัตราเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็น โรคหัวใจเท่านั้น ซึ่งผู้ที่จะวินิจฉัย

    ว่าเราเป็น โรคหัวใจ หรือไม่ คือแพทย์ โรคหัวใจ เท่านั้น ดังนั้นหาก

    พบความผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนดีที่สุด


     สำหรับคนที่หัวใจยังเป็นปกติ เรามีข้อแนะนำในการดูแลหัวใจ 

    (ก่อนสายเกินไป) ดังนี้ค่ะ
              สังเกตความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาการ

    ผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น ดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจปกติดี

    หรือไม่ เจ็บหน้าอก ใจสั่นบ่อยๆ หรือเปล่า เป็นต้น
               
              ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็ง


    แรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตแจ่มใสแล้ว ยังช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดี

    ขึ้นอีกด้วย

               ดูแลสุขภาพใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ พยายามไม่เครียด รู้จัก


    ควบคุมอารมณ์ และพึงระลึกไว้เสมอว่า ความเครียดและความโกรธ 

    เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หัวใจเต้นแรง และทำงานหนักขึ้น

               รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยงดอาหารที่มีไขมันสูง 


    ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่าย และ

    หันไปกินผักผลไม้ให้มากขึ้น
               
            ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันและรักษา


    โรคร้ายที่อาจคาดไม่ถึง เช่น โรคหัวใจ ซึ่งแฝงอยู่ในตัวเราตั้งแต่

    เนิ่นๆ


    อาการโรคหัวใจ
ความเป็นจริงแล้วคำว่า"โรคหัวใจ"มีความหมายกว้างมาก   อาการที่

เกิดจากโรคหัวใจหรือสัมพันธ์กับหัวใจนั้น มีไม่มากนัก ดังอาการ 

ข้างล่างนี้ แต่อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวก็มิได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรค

หัวใจเท่านั้น ยังมีโรคอื่นๆที่ให้อาการคล้ายกัน ดังนั้นการที่ แพทย์จะ

พิจารณาให้การวินิจฉัยนั้น จำเป็นต้องอาศัยประวัติ อาการโดย

ละเอียด ร่วมกับการตรวจร่างกาย บางครั้งต้องอาศัยการ ตรวจพิเศษ

ต่างๆ เช่น เลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์ เป็นต้น เพื่อแยกโรคต่างๆที่มี

อาการคล้ายกัน



เจ็บหน้าอก


หน้าอกได้ทั้งนั้น นอกจากนั้นอวัยวะในทรวงอก เช่น หัวใจ เยื่อหุ้ม

หัวใจ ปอด 

เยื่อหุ้มปอด หลอดอาหาร หลอดเลือดแดงใหญ่ กระดูกหน้าอก 

กระดูกซี่โครง 

เต้านม กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก เมื่อมีโรคหรือการอักเสบก็ทำให้เกิด

อาการเจ็บ

หน้าอก ได้ทั้งสิ้น แต่ลักษณะอาการเจ็บหน้าอกจะแตกต่างกัน

อวัยวะตั้งแต่ผิวหนังของทรวงอกไปจนผิวหนังของหลังจะทำให้เกิดอาการเจ็บ

อาการต่อไปนี้เข้าได้กับอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด

เจ็บแน่นๆ อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก อาจจะเป็นด้านซ้าย หรือทั้ง

สองด้านส่วนใหญ่จะเจ็บด้านซ้าย บางรายจะร้าวไป ที่แขนซ้าย หรือ 

ทั้งสองข้าง หรือ จุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน

อาการเจ็บหน้าอกจะเกิดในขณะออกกกำลัง เช่นวิ่ง เดินเร็วๆ รีบ หรือ 

ขึ้นบันได วิ่ง โกรธโมโห อาการดังกล่าวจะดีขึ้นเมื่อหยุดออกกำลัง 

อาการเจ็บมักจะไม่เกิด 10 นาทีสำหรับผู่ที่มีอาการรุนแรง อาการแน่น

หน้าอกอาจเกิดขึ้นในขณะพัก เช่น นั่ง หรือ นอน หรือ หลังอาหาร พัก

ไม่หาย อมยาก็ไม่หายปวด

อาการเจ็บหน้าอกต่อไปนี้ไม่เหมือนอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ

ขาดเลือด

กรณีที่เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน 

อาการจะรุนแรงมาก อาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น เหงื่อออกมาก 

เย็นปลายมือปลายเท้า หน้ามืดเป็นลม หายใจลำบาก

เจ็บเหมือนถูกของแหลมแทง เจ็บแปล๊บๆ เจ็บจุดเดียว กดเจ็บบริเวณ

หน้าอก

อาการเจ็บเกิดขึ้นในขณะพัก มีอาการนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน

อาการมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่า หรือ ขยับตัว หรือ หายใจเข้าลึกๆ

อาการเจ็บร้าวขึ้นศีรษะ ปลายมือ ปลายเท้า

หอบ เหนื่อยง่ายผิดปกติ

คำว่าเหนื่อย หอบ ในความหมายของแพทย์หมายถึงอาการหายใจ

ไม่พอ มีอัตราการหายใจมากกว่าปกติเมื่อออกำลังกาย หรือ กิจวัตร

ประจำวัน เมื่อเทียบกับอดีต หรือเทียบกับคนอายุเดียวกันแต่ในความ

หมายของผู้ป่วยอาจรวมไปถึง อาการเหนื่อยเพลีย หมดแรง เหนื่อย

ใจ แต่หากไม่มีอัตราหายใจเร็วก็ถือว่าไม่ใช่หอบเหนื่อยจากหัวใจ


อาการหอบ

 เหนื่อยง่าย เวลาออกแรง เช่น เดิน วิ่ง ทำงาน มีสาเหตุ

มากมาย เช่นโรคปอดเช่นถุงลมโป่งพอง หอบหืด โลหิตจาง โรคอ้วน 

ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะหัวใจล้มเหลว อาการเหนื่อยง่ายจากโรค

หัวใจ และ ภาวะหัวใจล้มเหลวนั้น จะเหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดย

เป็นเวลาออกแรง แต่ผู้ที่มีอาการรุนแรง จะเหนื่อยในขณะพัก บาง

รายจะเหนื่อยมากจนนอนราบไม่ได้ ต้องนอนหนุนหมอนสูง หรือนั่ง

หลับ

อาการเหนื่อย

แบบหมดแรง มือเท้าเย็นชา พูดก็เหนื่อยแต่เดินไปมา

ได้ เหล่านี้มักจะไม่ใช่อาการเหนื่อยจากโรคหัวใจ


ใจสั่น

ใจสั่นหมายถึงการที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิด

จังหวะ หรือ เต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นๆหยุดๆ 

อาการดังกล่าวพบได้ในคนที่ป่วยเป็น โรคหัวใจ ต่อมไทรอยด์เป็น

พิษ โรคปอด เกลือแร่ผิดปกติ แพทย์จะซักประวัติละเอียดถึงลักษณะ

ของ อาการใจสั่น เพื่อให้แน่ใจว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ 

บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยรู้สึก"ใจสั่น"โดยหัวใจเต้นปกติ ซึ่งอาการใจสั่นอาจ

จะไม่ปรากฎในขณะที่แพทย์ตรวจก็ได้

การตรวจวินิจฉัยกลุ่มอาการใจสั่นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก 

เนื่องจากผู้ป่วยมักมีอาการชั่วขณะ เมื่อมาพบแพทย์อาการดังกล่าว ก็

หายไปแล้ว แพทย์จึงไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากหัวใจ

เต้นผิดจังหวะหรือไม่ เมื่อมาพบแพทย์แพทย์จะตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 

ซึ่งอาจจะปกติในขณะที่ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจดังนั้นท่านควรศึกษาวิธี

จับชีพจรตัวเอง เมื่อเกิดอาการ ว่าหัวใจเต้นกี่ครั้งในเวลา 1 นาที และ

สม่ำเสมอหรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์ให้การวินิจฉัยได้

รวดเร็วขึ้น


ขาบวม


อาการขาบวมเกิดจากการที่ร่างกายมีเกลือและน้ำคั่งอยู่

ในร่างกาย โดยอาจเกิดจากโรคไต โรคหลอดเลือดดำ

อุดตัน ขาดอาหาร โปรตีนในเลือดต่ำ โรคตับ ยาและฮอร์โมนบาง

ชนิดโดยเฉพาะยากลุ่ม NSAID โรคหัวใจซษญ หรือ ในบางราย ไม่

พบสาเหต การบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวา

ทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถ ไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดย

สะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น อาการบวมมักจะเป็นตอนสายๆ 

เช้าตื่นมาอาจจะไม่บวมหรือบวมไม่มาก แต่สายๆจะบวมมากขึ้น โรค

เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังก็ให้อาการเช่นนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อมี

อาการขาบวม แพทย์จำเป็นต้องตรวจหลายระบบ เพื่อหาสาเหตุ จึง

ให้การรักษาได้ถูกต้อง


เป็นลมวูบ หรือหมดสติ


โรควู๊บในความหมายของแพทย์แล้ว จะตรงกับภาษาอังกฤษว่า 

syncope หมายถึง การหมดสติ หรือ เกือบหมดสติ ชั่วขณะ โดยอาจ

รู้สึกหน้ามืด จะเป็นลม ตาลาย มองไม่เห็นภาพชัดเจน โดยอาการ

เป็นอยู่ชั่วขณะ อาการนี้ไม่รวมถึงอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน โคลง

เครง วูบวาบตามตัว หายใจไม่ออก อาการวูบหรือหมดสติดังกล่าว

อาจเกิดจาก ความผิดปกติของสมอง เช่น ลมชัก เลือดออกในสมอง 

ความผิดปกติของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง หรือ

หยุดเต้นชั่วขณะ หรือ ความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติที่

ควบคุมหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว "วูบ" ยังอาจพบได้ในคนปกติที่ขาด

น้ำทำให้ความดันโลหิตต่ำ เสียเลือด ท้องเสีย ไม่สบาย ขาดการออก

กำลังกาย ยาลดความดันโลหิต

    ที่มา




    th.wikipedia.org/wiki/โรคหัวใจ

    health.kapook.com/view28.html

                                ไม่มีความคิดเห็น:

                                แสดงความคิดเห็น